เทคนิค การขับขี่ รถยนต์ ให้ได้เปรียบ เชิงกล
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
W3Schools.com
เทคนิคยานยนต์ทั่วไป

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ผู้เขียน : Admin™
เทคนิค การขับขี่ รถยนต์ ให้ได้เปรียบ เชิงกล
  • ในโลกปัจจุบันมีผู้ใช้รถใช้ถนนกันเป็นจำนวนมากเเละ มีพฤติกรรมการขับรถยนต์ที่เเตกต่างกันไปครับ เมื่อคุณได้อ่าน บทความนี้เเล้ว ลองสำรวจตัวเองเเละคนรอบข้างดูนะครับ ว่ามีพฤติกรรมการขับรถเป็นอย่างไร ขับเเล้วรู้จักถนอมรถหรือเปล่าหรือขับแล้วสิ้นเปลืองน้ำมันมากกว่าปกติหรือเปล่า ใน บทความนี้คุณจะได้รู้ถึงหลักการง่ายๆ ในการขับรถยนต์ให้ได้เปรียบเชิงกลและไม่เสียเปรียบเชิงกล สามารถขับรถยนต์ได้อย่างชาญฉลาดและมีความปลอดภัยครับ เราจะแบ่งได้เป็น 5 กรณีง่ายๆครับ เราลองมาดูกันนะครับว่าคุณจะทำได้หรือเปล่า
  • 1. ในกรณีที่รถยนต์ของคุณติดไฟแดงเป็นเวลาค่อนข้างนาน ไม่ควรเหยียบเบรคแช่ไว้ตลอดเวลา ควรใส่เบรคมือไว้เพื่อผ่อนคลายความล้าของขาและช่วยยืดอายุหลอดไฟเบรค และสวิตช์ไฟเบรค ตลอดจนช่วยประหยัดพลังงานรถยนต์ของคุณด้วยครับ ถ้ารถยนต์ของคุณใช้เกียร์อัตโนมัติก็ควรโยกคันเกียร์ไปที่ตำแหน่ง เกียร์ว่าง (เกียร์ N) และ ใส่เบรคมือเช่นกันนอกจากข้อดีดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีข้อดีอีกข้อครับคือ จะช่วยลดความร้อนที่เกิดในน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ ซึ่งถ้าน้ำมันร้อนจัดแล้วจะทำให้น้ำมันเสื่อมสภาพเร็วขึ้นครับ
  • 2. ในกรณีที่คุณขับรถบนถนนเปียก ความเสียดทานระหว่างยางกับถนนจะลดลงประมาณครึ่งหนึ่งของถนนแห้ง ดังนั้นการยึดเกาะถนนไม่ดีเท่ากับถนนแห้งโอกาสที่ล้อจะล็อคตายและลื่นไถลไป บนถนนจึงมีสูงมากครับ ดังนั้นจึงต้องขับขี่ด้วยความระมัดระวังและอย่าใช้ความเร็วสูงเป็นอันขาด เพราะอุบัติเหตุที่พบเห็นอยู่เสมอมักเกิดขึ้นในบริเวณที่มีฝนตกจนถนนเปียก โดยเฉพาะอ ย่างยิ่งเมื่อฝนเริ่มลงเม็ดปรอยๆ ฝุ่นบนถนนจะผสมกับน้ำฝนจนเป็นเมือก ซึ่งมีความลื่นมากเป็นพิเศษครับ
  • 3. ในกรณีที่คุณเหยีบเบรคอย่างกะทันหันจนล้อล็อคตายคุณจะไม่สามารถควบคุมการ เลี้ยวของรถยนต์ได้ครับ รถยนต์จะเลื่อนไหลไปตามแรงเฉื่อยของรถยนต์โดยที่ยางเสียดสีไปบนถนนเป็นทาง ยาว เรื่องนี้เป็นอันตรายมากครับดังนั้นถ้ารถยนต์ของคุณไม่ได้ใช้ เบรค ABS คุณ อาจลดการล็อคตายของล้อได้ (เพราะในขณ ะที่คุณกำลังเบรค คุณสามารถรู้สึกได้ว่าล้อกำลังจะล็อคตาย) โดยอาจผ่อนเบรคเล็กน้อยแล้วจึงเหยียบเบรคลงไปใหม่อย่างรวดเร็วจะช่วยได้ครับ
  • 4. ในกรณีที่คุณขับรถลงทางชันซึ่งมีความลาดชันค่อนข้างมากคุณควรใช้เกียร์ต่ำ เพื่อให้เครื่องยนต์ช่วยในการเบรค ซึ่งในทางวิศวกรรมเราเรียกว่า การเบรคด้วย เครื่องยนต์ (ENGINE BRAKE) แต่ ถ้าคุณไม่ใช้การเบรคด้วยเครื่องยนต์ (อาจเป็นเพราะว่าความเคยชินหรือ กลัวเครื่องพัง หรือกลัวเปลืองน้ำมัน) อาจจะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่นะครับ คุณก็จะต้องคอยเหยียบเบรคไว้ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้ความเร็วของรถยนต์เพิ่มสูงเกินไปใช่มั้ยครับ การกระทำเ ช่นนี้จะมีผลเสียต่อระบบเบรค คือ เบรคจะสึกหรอเร็วกว่าปกติ เบรคจะร้อนจัดเกินไปเพราะ รถยนต์เคลื่อนที่ด้วยความเร็วต่ำเพราะการเบรคอยู่บ่อยครั้งอากาศจึงไม่ สามารถเข้าไประบายความร้อนเบรคได้ทัน ประสิทธิภาพการเบรคจะลดลงครับ ถ้าเบรคร้อนมากจนทำให้น้ำมันที่ลูกปั้มเดือดก็จะส่งผลเสียอย่างมากครับ คือจะทำให้เบรคไม่อยู่และอาจเกิดอุบัติเหตุได้ครับ
  • 5. ในกรณีที่คุณขับรถอยู่บนถนนและ ยางรถยนต์ เกิดระเบิดขึ้นอย่างทันทีทันใด คุณจะรู้สึกได้ว่ารถยนต์เอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง การควบคุมรถจะทำได้ยากครับ ถ้าเกิดเหตุการณ์ยางระเบิดดังกล่าว ต้องตั้งสติให้มั่น จับพวงมาลัยให้มั่นคง อย่าเหยียบเบรคอย่างทันทีนันใดเพราะจะทำให้รถยนต์เสียหลักได้ครับ ควรแตะเบร คอย่างนิ่มนวลเพื่อลดความเร็วของรถยนต์ แล้วเปลี่ยนช่องทางจราจรจอดข้างถนนตรงบริเวณที่ปลอดภัยเพื่อเปลี่ยนยาง อะไหล่ หรือขอความช่วยเหลือครับ
  • เป็น อย่างไรกันบ้างครับกับ 5กรณี ที่กล่าวมาไม่ยากเลยใช่มั้ยครับ ในบางครั้งคุณอาจจะต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับรถอย่างที่เคย ขับมาด้วยความเคยชินก็ดี หรือ ความไม่รู้ก็ดี คุณก็ต้องลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับรถของคุณดูนะครับ ลองดูครับ แล้วคุณจะรู้ว่าการขับรถที่มีประสิทฺธิภาพได้เปรียบเชิงกลและมีความปลอดภัย นั้นจะทำให้รถยนต์ของคุณมีความสุข และ มีอายุการใช้งานที่ยาวนานและอยู่เคียงข้างคุณไปอีกนานแสนนานครับ และผมก็เชื่อว่าคุณและคนที่คุณรักจะต้องมีความสุขแน่นอนครับ

ลิ้งค์หัวข้อ: บ้านหรรษา ดอทคอม/topic/455

LikePost โดย 0 สมาชิก :

สวัสดีครับคุณ ผู้เยี่ยมชม ร่วมสนับสนุน เว็ปบ้านหรรษา ดอทคอม ด้วยการสมัครสมาชิก VIP. สามารถโหลดข้อมูลได้ทั้งเวป   ;;tty; ;;tty;  ขออภัย! คุณไม่สามารถเห็นลิ้งค์ที่โพสต์นี้ได้ กรุณาสมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ
คลิ๊กเลย
 

 

ร่วมสนับสนุนเว็บ บ้านหรรษา ดอทคอม ด้วยการสมัครสมาชิก VIP. เพียง 500฿ ต่อปี