หลักการทำงานพื้นฐานของระบบจุดระเบิด เครื่องยนต์เบนซิน
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
W3Schools.com
เทคนิคยานยนต์ทั่วไป

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ผู้เขียน : Admin™
หลักการทำงานพื้นฐานของระบบจุดระเบิด เครื่องยนต์เบนซิน (แก๊สโซลีน)

โดยทั่วๆไปแล้วไม่ว่าจะเป็นระบบจุดระเบิดทุกแบบที่ใช้กับเครื่องยนต์เบนซิน (แก๊สโซลีน) ล้วนแต่อาศัย
หลักการพื้นฐานเหมือนกันทั้งนั้น อุปกรณ์พื้นฐานของระบบจุดระเบิดประกอบด้วย
     

1.แหล่งจ่ายแรงดัน ถ้าเป็นรถยนต์อย่างของเจ้าซูน้อยก็คือ แรงดันจากหม้อแบตเตอรี่ 12 โวลท์
2.ชุดหน้าทองขาว
3.คอนเดนเซอร์
4.คอลย์จุดระเบิด


แสดงวงจรพื้นฐานของระบบจุดระเบิด



ต่อมาได้มีการพัฒนาระบบจุดระเบิดแบบอิเล็คทรอนิคส์ขึ้นมา สมัยก่อนเห็นเรียกว่า CDI เพื่อให้ผลการทำงานดียิ่งขึ้น
ส่งผลให้ให้การเผาไหม้สมบูรณ์ ได้กำลังเครื่องที่ดี ระบบอิเล็คทรอนิคส์ที่ว่าก็คือวงจรที่ควบคุมไฟที่จ่ายให้คอลย์
จุดระเบิด โดยอาศัยการตรวจจับจังหวะการทำงานจากชุดหน้าทองขาว หรือ อุปกรณ์อื่นที่แทนหน้าทองขาว โดยสัมพันธ์
กับจังหวะการทำงานของเครื่องยนต์ (ดูด-อัด-ระเบิด-คาย) อุปกรณ์การตรวจจับจังหวะการทำงานของระบบจุดระเบิดแบบ
อิเล็คทรอนิคส์ มี 2 แบบคือ

1. ระบบที่ใช้ชุดหน้าทองขาวเหมือนเดิม ระบบนี้ยังคงใช้หน้าทองขาวเหมือนระบบพื้นฐานทั่วๆไป



แต่ลดปัญหาเรื่องการสึกกร่อนของหน้าทองขาวตามอายุการใช้งานลงไปมาก ทำให้หน้าทองขาวมีอายุใช้งานนาน
กว่าระบบปกติหลายเท่าตัว ทั้งนี้เพราะ ระบบนี้จะมีกระแสที่ไหลบริเวณหน้าทองขาวน้อยมาก (ไม่ปรากฎประกายไฟ
หรือที่เรียกว่าการสปาร์ค ที่หน้าทองขาว) ส่งผลให้ปัญหาเรื่องไหม้ของหน้าทองขาวหมดไป การดูแลก็เพียงแต่
่การใช้กระดาษทรายระเอียดขัดคราบสกปรกเป็นครั้งคราวเท่านั้น โดยส่วนตัวแล้วผมชอบระบบนี้นะเพราะ
หากกล่องวงจรจุดระเบิดที่เป็นแบบอิเล็คทรอนิคส์เสียเรายังสามารถตัดต่อวงจรให้ให้เป็นการจุดระเบิด
แบบปกติได้ง่าย เพียงแต่อาศัยพื้นฐานความเข้าใจเรื่องระบบจุดระเบิดนิดหน่อยเท่านั้นเอง หรือแม้แต่การดัดแปลง
หรือเปลี่ยนแปลงวงจรจุดระเบิด ก็ทำได้สะดวกและง่ายกว่า

2. ระบบไม่ใช้ชุดทองขาว

ระบบนี้ส่วนใหญ่แล้วมักจะนิยมใช้กันอยู่ 2 แบบ คือ ใช้หลักการของแม่เหล็ก
และตัวตรวจจับเส้นแรงแม่เหล็ก (Hall IC) แทนชุดหน้าทองขาว ดังรูปข้างบนนี้

และอีกระบบหนึ่งที่เจ้าซูน้อยใช้คือใช้หลักการสร้างแรงดันไฟฟ้าจากตัวสร้างแรงดันไฟฟ้า (Generator)
ส่งไปทำการควบคุมวงจรจุดระเบิด แทนชุดหน้าทองขาว ดังรูปล่างนี้

ทั้งหมดนี้มีข้อดีในเรื่องของการลดปัญหาเรื่องการสึกกร่อนของหน้าทองขาว และ ปัญหาเรื่องความชื้นที่ทำให้เกิดสนิม
หรืออ็อกไซค์ ที่หน้าทองขาวได้ เป็นผลให้ระบบนี้ไม่ค่อยกลัวน้ำที่อาจกระเซ็นเข้าจานจ่าย ในกรณีที่ขับรถลุยน้ำ
(ไม่ใช้ลอยน้ำนะครับ) ดังที่เห็นบ่อยๆ คือเวลาฝนตกน้ำท่วมแค่คืบ ไม่ถึงครึ่งล้อ เห็นเครื่องดับจอดกันบ่อยๆ สำหรับรถรุ่นเก่าๆ

การใช้วงจรอิเล็คทรอนิคส์ที่ออกแบบมาดีๆ จะช่วยให้การจุดระเบิดได้สมบูรณ์การเผาไหม้หมดจด ได้กำลังเครื่องที่ดี
ห้องเผาไหม้สะอาด ลดปัญหาการน็อคของเครื่องอันเนื่องจากคราบเขม่าที่จับในห้องเผาไหม้ได้ เหตุผลก็คือระยะเวลาในการเกิดประกายไฟที่เขี้ยวหัวเทียนจะยาวนานกว่าระบบที่ไม่ได้ใช้วงจรอิเล็คทรอนิคส์ ในการจุดระเบิด
ส่วนระบบจุดระเบิดของเจ้าซูน้อยเท่าที่ทราบมา ไม่กล้ายืนยันนะครับ แต่เท่าที่เห็นขนาดแล้ว ไม่น่าจะเป็นระบบที่ออกแบบให้ได้
ผลการทำงานที่สูงสุดอย่างวงจรในรถชั้นเยี่ยมอื่นๆ ใช้กัน เพราะเท่าที่เคยเห็นวงจรของรถยี่ห้ออื่นๆ แผงวงจรจะใหญ่มาก
มีวงจรการทำงานที่ซับซ่อนกว่า สำหรับของเจ้าซูน้อยคิดว่าคงออกแบบแค่ใช้วงจรอิเล็คทรอนิคส์ง่ายๆบังคับการปิดเปิดไฟให้กับ
คอลย์เท่านั้น ทั้งนี้อาจเป็นเรื่องของการลดค่าใช้จ่าย และลดอัตราเสี่ยงในการเสียหายอันอาจเกิดกับอุปกรณ์ที่มีมากขึ้น



เบื้องต้นก่อนเกิดประกายไฟแรงสูง
เมื่อเราทำการสตาร์ทเครื่องยนต์ จะมีไฟบวกมาเลี้ยงที่คอลย์ขั๋วบวก (มาตั้งแต่ตอน ON สวิทซ์แล้ว) และที่ขั๋วลบของคอลย์จะถูกต่อกับชุดหน้าทองขาวที่ติดตั้งภายในจานจ่าย เพื่อทำหน้าที่ปิดและเปิด(เหมือนสวิทซ์ไฟ)
ในการจ่ายไฟให้กับคอลย์จุดระเบิด โดยอาศัยแกนลูกเบี้ยวเป็นตัวเตะบังคับให้มีการเปิดปิด โดยสัมพันธ์กับจังหวะการ
ทำงานของเครื่องยนต์ (ดูด-อัด-ระเบิด-คาย)ถ้าหน้าทองขาวปิดหรือแตะกันอยู่ก็เท่ากับขั๋วลบของคอลย์ถูกต่อลงกราวด์
จะเกิดการไหลของกระแสไฟในขดลวดของคอลย์ ระหว่างขั๋วบวก และ ขั๋วลบของคอลย์ ที่เรียกว่าขดลวดปฐมภูมิ
(Primary coil) ถ้าเปรียบเทียบให้คอลย์คือหลอดไฟตอนนี้หลอดไฟก็จะต้องสว่าง การไหลของกระแสไฟในขดลวดของคอลย์ เป็นผลให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้นภายในแกนร่วมของคอลย์ ขณะนี้จะยังไม่เกิดประกายไฟแรงสูงที่เขี้ยวหัวเทียน
   
     


เกิดประกายไฟแรงสูงตอนไหน
เมื่อถึงจังหวะที่หน้าทองขาวเปิดคือจากออกจากกัน โดยกลไกของลูกเบี้ยวที่ดันให้หน้าทองขาวจาก ซึ่งเป็นจังหวะจุดระเบิดของ
ลูกสูบเครื่องยนต์พอดี (ก่อนลูกสูบเคลื่อนที่ถึงจุดศูนย์ตายบนเล็กน้อย ที่บอกว่า 8 องศาบ้าง 10 องศาบ้าง หรือ 5 องศา สำหรับ
น้ำมันสมัยเก่า หรือ คนเรียนเครื่องยนต์สมัยเก่า) การที่หน้าทองขาวเปิด ทำให้กระแสที่ไหลในขดลวดของคอลย์หยุดการไหลทันที
(ขาดวงจร เพราะขั๋วลบของคอลย์ไม่ได้ถูกต่อลงกราวด์) ทำให้เกิดการยุบตัวของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
ส่งผลให้เกิดไหลของกระแสขึ้นที่ขดทุติยภูมิ (Secondary coil) สูงขึ้นเป็นหลายพัน จนถึง หลักหมื่นโวลท์ ทันที (แรงดันไฟแรงสูงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนรอบของขดลวดทุติยภูมิ รวมถึงอัตราส่วนระหว่างขดปฐมภูมิ (Primary coil) ด้วย) แรงดันไฟแรงสูงที่ได้นี้ก็จะถูกส่งไปที่เขี้ยวหัวเทียนเพื่อทำการจุดระเบิดต่อไป
กระแสที่เกิดจากการยุบตัวของสนามแม่เหล็กที่แหละ ที่มักทำลายวงจรอิเล็คทรอนิคส์บางชนิดพัง ในช่วงที่ปิดเครื่องอย่างเช่นเครื่อง
รับโทรทัศน์เป็นต้น อาการเสียส่วนมากจะพบว่าเมื่อคืนหรือก่อนนี้ยังดูดี พอจะเปิดใช้งานอีกครั้งไม่ทำงานเสียแล้ว น้อยครั้งที่จะพบว่า
เสียต่อหน้าต่อตา

สรุปอาการเสียของคอลย์จุดระเบิด
ส่วนใหญ่แล้วการเสียของคอลย์ตุดระเบิดมักจะเสียด้านขอลวดทุติยภูมิหรือขดที่สร้างไฟแรงสูงนี่แหละ โดยอาการเสีย
มักจะเป็นช็อตรอบหรืออาร์คภายใน ส่งผลให้เกิดการโหลดที่ขดลวดปฐมภูมิหรือขดไฟแรงต่ำ เป็นสาเหตุให้เกิดอาการ
คอลย์ร้อนจัด และกำลังไฟแรงสูงตกลงนั้นเอง เป็นเหตุให้เครื่องกำลังตกและถึงขั้นดับทันทีที่คอลย์ร้อนจัด
ส่วนการช็อตรอบที่ขดไฟแรงต่ำหรือขดลวดปฐมภูมิ จะไม่มีไฟแรงสูงออก และอาจส่งผลทำให้ฟิวส์ในระบบที่จ่ายให้ระบบ
ขาดได้ แต่ในกรณีที่คอลย์มีอาการทำงานบ้างไม่ทำงานบ้างอาจเป็นเพราะเกิดการขาดของจุดต่อภายใน ซึ่งโอกาสเกิดขึ้น
ได้น้อยมาก

วิธีการตรวจสอบคอลย์จุดระเบิด
ถ้าจะให้ดีหาหลอดไฟ 12โวลท์ ขนาดเล็กสักหลอด ต่อสายไฟออกมาสองเส้น ที่ปลายสายต่อปากคีบไว้ทั้งสองเส้นดังรูป
เพื่อใช้เป็นเครื่องมือง่ายๆในการตรวจเช็คระบบไฟของรถ มีประโยชน์มากยามฉุกเฉิน เคยเห็นช่างตามอู่บางคน ใช้วิธีเอาสาย
ไฟเส้นเดียวโดยเอาด้านหนึ่งแตะที่ตัวถังรถไว้ และปลายสายอีกด้านหนึ่งมาทำการเขี่ยจุดต่างๆ ที่ต้องการหาว่ามีไฟบวกมา
หรือไม่ โดยส่วนตัวเป็นวิธีที่ผมไม่ชอบเลย เพราะหากไปเขี่ยบริเวณที่เป็นเกลี่ยวหรือสกรู เช่นขั้วของคอลย์ เป็นต้น อาจทำ
ให้เกลียวถูกอาร์คจนละลาย ทำให้ร่องเกลียวเสียหายได้


วิธีตรวจสอบการจ่ายไฟให้ระบบจุดระเบิด
1.เข้าเกียร์ว่างไว้
2.บิดสวิทซ์กุญแจไปที่ ON ไว้
3.ใช้ปากคีบด้านใดด้านหนึ่งหนีบจับไว้ที่ขั้วลบของแบตเตอรี่ หรือ บริเวณตัวถังที่เป็นโลหะ ที่ไม่มีสีเคลือบอยู่
4.ใช้ปากครีบอีกด้านที่เหลือ จับที่ขั้วบวกของคอลย์ ถ้าระบบจ่ายไฟปกติหลอดไฟจะต้องติดสว่าง ถ้าไม่ติดแสดงว่า
ระบบการจ่ายไฟมีปัญหา ให้ย้อนไปดูตามข้อ 2 ถ้ายังไม่ได้ แสดงว่าฟิวส์ที่วงจรจ่ายไฟให้ระบบจุดระเบิดขาด

วิธีตรวจสอบคอลย์จุดระเบิด (การตรวจเช็คนี้จะต้องมั้นใจว่ามีไฟบวก 12 โวลท์ มาที่ขั้วบวกของคอลย์แล้ว)
1.เข้าเกียร์ว่างไว้
2.ปลดสายไฟที่ต่อกับขั้วลบของคอลย์ออกก่อน (ลอยขั้วลบของคอลย์ไว้) หรืออาจใช้วิธีตามรูปข้างล่างนี้ โดยทำ
การปลดสายที่ต่อกับคอลย์ทั้งขั้วบวก และ ลบ ออก แล้วใช้สายอีกเส้นต่อจากขั้วบวกของแบตเตอรี่โดยตรงเลย
3.ปลดสายไฟแรงสูงที่หัวจานจ่ายออก(เป็นสายที่ต่อออกมาจากจุดจ่ายไฟแรงสูงของคอลย์ High tension terminal)
4.หาสายไฟอ่อนไม่ต้องใหญ่เส้นเล็กๆ มาปลอกปลายสายทั้งสองด้านออกให้เห็นทองแดง นำสายด้านหนึ่งมาต่อเข้า
กับขั้วลบของคอลย์ อีกด้านหนึ่งลอยไว้ก่อน อย่าให้แตะถูกส่วนที่เป็นโลหะใดๆของรถ
5.บิดสวิทซ์กุญแจไปที่ ON ไว้
6.ตอนนี้จะมีปลายสายลอยอยู่สองจุดคือ จากขั้วไฟแรงสูงของคอลย์ และ จากขั้วลบของคอลย์ จากนั้นจับปลายสาย
ด้านไฟแรงสูง อย่าใช้นิ้วจับใกล้ขั้วโลหะที่ปลายสายจับห่างไว้ ระวังไฟแรงสูงดูด จ่อปลายส่วนที่เป็นโลหะไว้ใกล้ๆกับ
ตัวถังของเครื่องยนต์หรือ ของรถ บริเวณที่ไม่มีสีเคลือบอยู่ จ่อให้ได้ระยะห่างประมาณ 2-3มิลลิเมตร ไม่ควรให้ห่าง
เกิน 5 มิลลิเมตร
7.ใช้มือที่ว่างอีกข้างหนึ่งจับปลายสายที่ต่อจากขั้วลบของคอลย์ มาเขี่ยบริเวณที่เป็นโลหะบริเวณที่ไม่มีสีเคลือบอยู่
ห้ามแตะปลายสายแช่ให้ใช้เขี่ย หรือ แตะแล้วยกห่างแล้วแตะแล้วยกห่าง ใช้ระยะเวลาถี่สักหน่อย
8.ถ้าคอลย์จุดระเบิดไม่เสีย จะเกิดประกายไฟแรงสูงสปาร์คลงแท่น ที่ปลายสายตามข้อ 6


แล้วเจ้าคอนเดนเซอร์ทำหน้าที่ตอนไหน


ป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าคอนเดนเซอร์ทำหน้าที่ลดการสปาร์คของประกายไฟที่หน้าทองขาวในขณะเปิด แล้วคอนเดนเซอร
์เสียทำไมทำให้เครื่องยนต์ไม่ติดได้ จากรูปภาพจะเห็นว่าคอนเดนเซอร์จะถูกต่อคร่อมหน้าทองขาวอยู่ หรือเรียกว่าต่อขนาน
กับหน้าทองขาวอยู่ ในขณะที่หน้าทองขาวปิด คอนเดนเซอร์ก็อยู่ในสภาพที่ลอยๆ คือช็อตตัวเองอยู่ ในสภาวะนี้ถ้ามอง
คอนเดนเซอร์ ในแง่ของความต้านทานก็คือความต้านทานต่ำ เพราะคอนเดนเซอร์ไม่ได้ทำการเก็บประจุไฟไว้ในตัว
และเมื่อหน้าทองขาวจากหรือเปิด กระแสที่เหนี่ยวนำในขดลวดส่วนหนึ่งจะวิ่งย้อนมาเกิดการสปาร์คที่หน้าทองขาว ดังนั้นเมื่อหน้าทองขาวเปิดกระแสส่วนหนึ่งจะวิ่งผ่านตัวคอนเดนเซอร์ นั้นก็คือคอนเดนเซอร์เริ่มทำการประจุไฟเข้าไว้ในตัว
เป็นผลให้ลดการสปร์คที่หน้าทองขาวลงไปได้ จนถึงจุดหนึ่งที่คอนเดนเซอร์ประจุไฟเต็มแล้วก็จะทำไหลหยุดการรั่วไหลของ
กระแสที่ไหลผ่านคอลย์ (กระแสที่รั่วไหลผ่านคอนเดนเซอร์นี้จะมีค่าน้อยไม่มีค่ามากพอที่จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กที่
ขดปฐมภูมิที่คอลย์ได้ เหมือนตอนที่หน้าทองขาวปิด(แตะกัน เหมือนคอลย์ขั๋วลบต่อลงกราวด์โดยตรง)    
     

แล้วเจ้าคอนเดนเซอร์เสียจะเป็นอย่างไร
ถ้ามองในแง่ที่ไม่มีคอนเดนเซอร์ในวงจร เมื่อหน้าทองขาวจากหรือเปิดกระแสที่ย้อนกลับมาสปาร์คที่หน้าทองขาวจะ
สูงมาก มากพอที่จะเกิดสนามแม่เหล็กบนขดลวดปฐมภูมิในคอลย์ได้ เหมือนคอลย์ทำงานครึ่งตัว หรือเหมือนกับหน้า
ทองขาวไม่ได้จากจริงๆ ทั้งๆที่ขณะเวลานี้ (หน้าทองขาวจากหรือเปิด) ไม่ควรจะมีีกระแสไหลในขดลวดปฐมภูมิในคอลย
์ทั้งสิ้น การที่มีกระแสไหลในขดลวดปฐมภูมิในคอลย์ช่วงนี้เองทำให้มีผลต่อค่าของไฟแรงสูงที่จะเกิดขึ้นที่เขี้ยวหัวเทียน
ต่ำกว่าในสภาวะปกติ และยังอาจส่งผลถึงการจุดระเบิดผิดจังหวะได้ อันเนื่องมาจากผลของการสปร์คที่หน้าทองขาว
เป็นสาเหตุให้การปิดเปิดของหน้าทองขาวผิดพลาด บางครั้งจะเกิดอาการน็อคให้เห็น หรือ ไฟแลบย้อนออกทาง
คาร์บูเรเตอร์ก็มี

แสดงรูปการทำงานของระบบจุดระเบิด (ตามระบบของเจ้าซูน้อยจะเริ่มจากสูบที่ 1,3,4,2)



วิธีตรวจสอบระบบช่วงล่างด้วยตนเอง
ระบบช่วงล่างของรถยนต์เป็นสิ่งหนึ่งที่มักสร้างปัญหาให้กับทั้งผู้ใช้รถ และ ช่าง เพราะเป็นปัญหาที่ต้องใช้การคาดคะเน
วิเคราะห์ในปัญหานั้นๆยกเว้นกรณีที่เสียหายให้เห็นโดยชัดเจน เช่นหัก แตก ร้าว หรือ หลวมอย่างน่าเกลียด อีกทั้งต้อง
อาจใช้ประสบการณ์และความชำนาญในการวิเคราะห์ปัญหา มิฉะนั้นจะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ลุกลามและปานปลายจน
กว่าจะเจอปัญหาจริง แต่ก็นับว่าเป็นความโชคดีของผู้ใช้เจ้าซูน้อยที่ระบบช่วงล่างเป็นระบบพื้นฐานธรรมดาๆ ไม่มีกลไก
สลับซับซ่อน อย่างรถรุ่นใหม่ๆ ทำให้การวิเคราะห์ปัญหาได้ค่อนข้างแม่นยำ และ ประหยัดเรื่องค่าใช้จ่ายในการซ่อมหรือ
เปลี่ยน เรื่องซ่อมแล้วปานปลายค่อนข้างน้อย ในที่นี้ผมหมายถึงการใช้อะหลั่ยมาตรฐาน(รุ่นเดิมๆ)ของเจ้าซูนะครับ
ส่วนการปรับเปลี่ยนไปใช้แบบอื่นๆ ที่มีการออกแบบเป็นพิเศษ ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างมากเกินไปยอมรับว่าดี
กว่าของเดิมๆ แต่ราคาก็ก็สูงตามคุณภาพของชิ้นส่วนนั้นๆ ส่วนการปรับเปลี่ยนโครงสร้างจากเดิมอย่างมาก ก็จำเป็นต้อง
อาศัยคุณภาพและการตอบสนองการทำงานของชิ้นส่วนนั้นๆ เหมาะกับลักษณะวัตถุประสงค์การใช้งานมากเพียงใด และ
อาศัยความชำนาญของช่าง หรือผู้ลงมือทำ สามารถทำได้ครับผมว่าไม่มีทางเกินความสามารถของมนุษย์หรอกครับ เพียง
แต่ว่าอาจต้องใช้งบประมาณสูงหน่อย เท่านั้นเอง



ลิ้งค์หัวข้อ: บ้านหรรษา ดอทคอม/topic/59

สวัสดีครับคุณ ผู้เยี่ยมชม ร่วมสนับสนุน เว็ปบ้านหรรษา ดอทคอม ด้วยการสมัครสมาชิก VIP. สามารถโหลดข้อมูลได้ทั้งเวป   ;;tty; ;;tty;  ขออภัย! คุณไม่สามารถเห็นลิ้งค์ที่โพสต์นี้ได้ กรุณาสมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ
คลิ๊กเลย
 

 

ร่วมสนับสนุน เว็ปบ้านหรรษา ดอทคอม ด้วยการสมัครสมาชิก VIP.