ความรู้เกี่ยวกับ “ระบบรับน้ำหนักและระบบกันสะเทือน” รถยนต์
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
W3Schools.com
เทคนิคยานยนต์ทั่วไป

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ผู้เขียน : Admin™
ความรู้เกี่ยวกับ “ระบบรับน้ำหนักและระบบกันสะเทือน” รถยนต์



ความรู้เรื่องระบบรับน้ำหนักและระบบกันสะเทือน แบบคานแข็ง(Rigid Suspension) แบบอิสระ(Independent Suspension) ระบบกันสะเทือนอิสระแบบปีกนกคู่(Double Wishbone) ระบบกันสะเทือนอิสระแบบเมคเฟอร์สันสตรัท(MacPherson Strut)…

1. ระบบรองรับน้ำหนักและกันสะเทือน

ระบบรองรับน้ำหนักของรถยนต์จะถูกติดตั้งอยู่ระหว่างตัวถังรถด้านบน และเสื้อเพลาล้อด้านล่าง โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อ

    รองรับน้ำหนักตัวรถ
    รองรับการเต้นขึ้นลงของล้อ
    รักษาศูนย์ล้อรถขณะขับขี่อย่างมีประสิทธิภาพ
    รักษาสภาพการสัมผัสกันระหว่างล้อกับพื้นผิวถนนและระดับตัวรถกับพื้นถนน
    ให้เกิดความคล่องตัวในการบังคับเลี้ยว
    รับแรงกระทำตามแนวดิ่ง แนวขวาง และแนวยางของตัวรถได้



2. ระบบกันสะเทือน (Suspension System)

จะมีชิ้นส่วนหลัก 2 ชิ้นส่วน คือ สปริงและโช้คอัพ ทำงานร่วมกันอย่างเหมาะสม ตัวสปริงจะทำหน้าที่รับน้ำหนักตัวรถไว้ด้านบนและรองรับน้ำหนักการกระแทกและการเต้นขึ้นลงของเสื้อเพลาเปลี่ยนเป็นคลื่นสั่นสะเทือน ส่วนโช้คอัพจะทำหน้าที่เป็นตัวหน่วงหรือลดการสั่นสะเทือนที่สปริงดูดซับมาจากการเต้นขึ้นลงของเสื้อเพลา ด้วยความหนืดของของเหลวเป็นตัวต้านทานการเต้นของสปริงระบบกันสะเทือน ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักของตัวรถ เครื่องยนต์ ผู้โดยสาร และสิ่งของใดๆ ที่อยู่ในรถ อีกทั้ง ยังช่วยรองรับ แรงสะเทือนจากถนน และยังช่วยทำให้ผู้ขับรถ สามารถควบคุมการเคลื่อนที่ไปตามทุกสภาพ และความเร็วของถนน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกด้วย อุปกรณ์ รองรับน้ำหนักที่สำคัญ ในระบบกันสะเทือนคือ สปริง (Spring) และโช๊คอัพ (Shock Absorber)
ชนิดของระบบกันสะเทือน

    ระบบกันสะเทือนแบบคานแข็ง (Rigid Suspension)
    ระบบกันสะเทือนแบบอิสระ (Independent Suspension)



3. ระบบกันสะเทือนแบบคานแข็ง (Rigid Suspension)

คือ แบบดั้งเดิมโดยมากจะพบกับระบบกันเคลื่อนล้อหลัง เพราะจะมีเพลาหมุน (Axle shaft) ต่อออกจากชุดเฟืองท้าย (Differential) ไปสู่ล้อซ้าย และล้อขวาโดยตรง โดยไม่ผ่านข้อต่ออ่อน (Universal Joint) ดังนั้น เฟืองท้าย เพลาขับล้อซ้าย และเพลาขับล้อขวา และบริเวณเพลาขับทั้ง 2 ข้าง จะมีสปริง และโช้คอัพรองรับน้ำหนัก และแรงสะเทือนจากถนน เมื่อล้อซ้ายได้รับแรงสะเทือนใดๆ ก็จะสะท้อนแรงสะเทือนนี้ ไปยังล้ออีกข้างหนึ่งด้วย


4. ระบบกันสะเทือนแบบอิสระ (Independent Suspension)

คือระบบกันสะเทือนที่ได้รับการพัฒนาให้แยกหน้าที่ รองรับน้ำหนัก และแรงสะเทือนระหว่างล้อซ้าย และล้อขวาออกจากกัน เมื่อล้อใดล้อหนึ่งตกหลุมหรือกระแทกสิ่งกีดขวาง แรงสะเทือนที่เกิดขึ้น ก็จะกระทำต่อล้อนั้นเสียส่วนใหญ่ และจะส่งแรงสะเทือนนี้ไปสู่ตัวรถ และอุปกรณ์ต่อเนื่องกันให้น้อยที่สุด เพื่อให้เกิดความนุ่มนวลในห้องโดยสารมากที่สุด

รูปแบบระบบกันสะเทือนอิสระ
- ระบบกันสะเทือนอิสระแบบปีกนกคู่ (Double Wishbone)
- ระบบกันสะเทือนอิสระแบบเมคเฟอร์สันสตรัท (MacPherson Strut)



ระบบกันสะเทือนแบบปีกนกคู่ (Double Wishbone)
ระบบกันสะเทือนแบบนี้ มีส่วนประกอบที่มองดูคล้ายกับปีกนกอยู่ 2 ชิ้น ติดตั้งอยู่ด้านบน และด้านล่างอย่างละ 1 ชิ้น ด้านหนึ่งยึดติดกับโครงรถ อีกด้านหนึ่ง ยึดติดกับข้อบังคับเลี้ยวที่ติดอยู่กับดุมล้อ

ระบบปีกนกคู่ ถูกดัดแปลงไปใช้กับรถยนต์แต่ละรุ่นแตกต่างกันไป บางบริษัทออกแบบระบบ ปีกนกเพื่อเพิ่ม ความนุ่มนวลในการขับขี่มากขึ้น บางบริษัทออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ด้านการทรงตัว ของรถขณะขับขี่หรือเข้าโค้ง การออกแบบของแต่ละบริษัท ก็จะส่งผลให้มีการผลิต ชิ้นส่วนของแขนปีกนกบน และล่าง ในรูปร่างแตกต่างกันไป



ระบบกันสะเทือนแบบเมคเฟอร์สันสตรัท (MacPherson Strut)
ระบบกันสะเทือนแบบแมคเฟอร์สันสตรัท ถูกพัฒนาให้ง่ายขึ้นกว่าระบบปีกนกคู่ คือจะใช้แกนปีกนกด้านล่าง 1 แกน ส่วนด้านบนจะใช้เป็นชุดสตรัท (Strut) เพื่อรับแรงกระแทกบนพื้นถนน ขึ้นมาที่ล้อ ต่อไปยังแกนปีกนกบน+คอยสปริง+โช้คอัพ ไปในตัว

ปัจจุบันรถยนต์รุ่นใหม่ ใช้วิธีนำชุดสตรัท มาเป็นระบบกันสะเทือนอิสระกันมากขึ้น รถยนต์บางรุ่น จะใช้ชุดสตรัท เป็นระบบกันสะเทือนทั้ง 4 ล้อ หรืออาจใช้ชุดสตรัท กับระบบล้อหน้า ส่วนระบบกันสะเทือนล้อหลัง ใช้เป็นแบบอื่นก็มี



ลิ้งค์หัวข้อ: บ้านหรรษา ดอทคอม/topic/73

LikePost โดย 0 สมาชิก :

สวัสดีครับคุณ ผู้เยี่ยมชม ร่วมสนับสนุน เว็ปบ้านหรรษา ดอทคอม ด้วยการสมัครสมาชิก VIP. สามารถโหลดข้อมูลได้ทั้งเวป   ;;tty; ;;tty;  ขออภัย! คุณไม่สามารถเห็นลิ้งค์ที่โพสต์นี้ได้ กรุณาสมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ
คลิ๊กเลย
 

 

ร่วมสนับสนุนเว็บ บ้านหรรษา ดอทคอม ด้วยการสมัครสมาชิก VIP. เพียง 500฿ ต่อปี