ข้อมูลสำหรับการอ่านค่า OBD2 มือใหม่สำหรับช่างยนต์
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
W3Schools.com
เทคนิคยานยนต์ทั่วไป

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ผู้เขียน : Admin™
ข้อมูลสำหรับการอ่านค่า OBD2 มือใหม่สำหรับช่างยนต์

Emission Sensors
อุปกรณ์ Sensor ที่ใช้วัดค่าพารามิเตอร์ต่างๆเพื่อช่วยในการลดการปล่อยไอเสียนั้นประกอบด้วย Sensor หลายตัว ซึ่งโดยทั่วไปจะประกอบไปด้วย ตัววัดอุณหภูมิที่ท่อไอดี(Manifold Air Temperature Sensor), ตัววัดอุณหภูมิหม้อน้ำ(Coolant Temperature Sensor), ตัววัดแรงดันในท่อไอดี( Manifold Absolute Pressure Sensor), ตัววัดอัตราการไหลของอากาศที่ท่อไอดี (Airflow Sensor), ตัววัดตำแหน่งรอบเดินเบา( Throttle Position Sensor), ตัววัดความเร็วรถยนต์ (Vehicle Speed Sensor ), และตัววัดอ็อกซิเจน( Oxygen Sensor) โดยหน่วยควบคุมการขับเคลื่อนของ ECU( Powertrain Control Module) จะรับสัญญาณจากตัววัดเหล่านี้เพื่อมาประมวลผลแล้วส่งให้ส่วนควบคุมต่างๆเพื่อควบคุมเครื่องยนต์รวมถึงควบคุมปริมาณการปล่อยไอเสียของรถยนต์สมัยก่อนเมื่อจะต่อทะเบียนรถประจำปีเราจะต้องนำรถยนต์ไปวัดควันดำโดยใช้ตัว Sensor สอดเข้าไปที่ท่อไอเสียแล้วให้เร่งเครื่อง แต่เมื่อมีระบบ OBDII แล้วเราสามารถอ่านค่าจาก Sensor เหล่านี้แล้วประมวลผลออกมาได้เลย ถ้าค่าที่ได้ไม่ผ่านเกณฑ์เราก็ทำการแก้ไขก่อนไม่ต้องเสียเวลาไปตรวจหลายรอบ

Oxygen Sensor
Oxygen Sensor เป็นตัววัดอัตราส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันโดยแสดงออกมาเป็นโวลต์ ในรถยุโรปบางครั้งจะเรียกว่า Lambda Sensor โดยเมื่ออัตราส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันเปลี่ยนไปค่าโวลต์จะเปลี่ยนตาม ในรถยนต์เบนซินทุกคันจะต้องมี Sensor ตัวนี้เพื่อส่งข้อมูลให้กล่อง ECU ในรถยนต์ก่อนปี 1996 มักจะมี ออกซิเจน เซ็นเซอร์เพียงตัวเดียว แต่ หลังจากปี 1996 เมื่อ OBDII ได้กลายเป็นมาตรฐานสำหรับรถยนต์จากทุกรุ่นและทุกบริษัทแล้ว Oxygen Sensor มักจะมี 2 ตัวโดยตัวแรกจะติดตั้งไว้ก่อน แคตตาไลท์ติค คอนเวร์ทเตอร์(Catalytic Converter) ส่วนอีกตัวจะติดไว้หลัง แคตตาไลท์ติค คอนเวร์ทเตอร์ และในรถยนต์บางรุ่นอาจติดตั้ง Oxygen Sensor ไว้ถึง 4 ตัวสัญญาณจากออกซิเจนเซ็นเซอร์จะจะส่งให้ ECU แบบ Real time เพื่อบอก ECU ว่าอัตราส่วนผสมบางไปหรือหนาไป แล้ว ECU ก็จะส่งสัญญาณไปควบคุมอัตราส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันให้เหมาะสมในแต่ละความเร็วรอบเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดหรือเพื่อให้เกิดการประหยัดน้ำมันสูงสุด ในระบบ OBDII ตัวอ๊อกซิเจนเซ็นเซอร์ยังใช้เป็นตัววัดประสิทธิภาพของแคตตาไลท์ติค คอนเวอร์ทเตอร์ ด้วย โดยค่าที่อ่านได้จากตัวเซ็นเซอร์ในตำแหน่งที่ 1 จะมีลักษณะส่ายไปมาเป็นแบบ Sine wave ส่วนเซ็นเซอร์ในตำแหน่งที่ 2 จะต้องอ่านค่าได้ต่ำกว่าและแสดงค่าที่นิ่งกว่าตำแหน่งที่ 1จะแสดงว่าแคตตาไลท์ติค คอนเวอร์ทเตอร์ทำงานได้ตามปกติแต่ถ้าเซ็นเซอร์ทั้งสองตัวอ่านค่าเท่ากันตลอดเวลาแสดงว่าแคตตาไลท์ติคคอนเวอร์ทเตอร์เสีย
โดยปกติเมื่ออัตราส่วนผสมของอากาศและน้ำมันหนานั้น จะมีอ๊อกซิเจนที่ไม่ถูกเผาไหม้จำนวนมากทำให้เซ็นเซอร์วัดโวลท์ออกมาประมาณ 0.9 V แต่เมื่ออัตราส่วนผสมบางเซ็นเซอร์จะอ่านโวลท์ได้ประมาณ 0.2 V แต่เมื่อระบบเข้าสู่จุดสมดุลหรือเหมาะสมที่สุด(น้ำมันต่ออากาศเท่ากับ 14.7:1)หรือเกิดการเผาไหม้ดีที่สุดค่าที่ได้ควรจะประมาณ 0.45 V

EGR(Exhaust Gas Recirculation)
วาล์ว EGR ได้นำมาใช้กับรถยนต์ตั้งแต่ปี 1972
เนื่องจากรถยนต์จะเป็นแบบหัวฉีดที่สามารถควบคุมปริมาณน้ำมันและส่วนผสมของอากาศได้แม่นยำขึ้น การควบคุมการปิดเปิดวาล์ว EGR อาจใช้ Vacuum หรือใช้ไฟฟ้าก็ได้ ระบบ EGR จะช่วยลดปริมาณอ๊อกไซด์ของไนโตรเจนซึ่งเป็นสารพิษ(Nox)
โดยปริมาณของ Nox จะเพิ่มขึ้นตามอุณหภูมิของการเผาไหม้ในห้องเครื่อง โดยจะเกิดขึ้นจำนวนมากในการเร่งเครื่องในครั้งแรก ระบบ EGR จะคำนวณปริมาณและปรับเอาไอเสียเพื่อมาป้อนกลับเข้าผสมกับไอดีซึ่งไอเสียนี้ส่วนมากยังไม่เกิดการเผาไหม้เมื่อเข้าไปยังห้องเผาไหม้แล้วจะทำให้อุณหภูมิลดลงทำให้ปริมาณ Nox ลดลงด้วย ถ้าปริมาณการป้อนกลับนี้ไม่เหมาะสมเครื่องยนต์อาจน็อค เครื่องยนต์เดินไม่เรียบ เดินสะดุด กำลังตก เป็นต้น

LTF1 and STF1(Long Term and Short Term Fuel Trim)
เนื่องจากการทำงานของระบบควบคุมจะทำงานเป็นแบบ Close loop กล่าวคือ เมื่อ Sensor วัดสัญญาณได้ผิดปกติระบบก็จะทำการชดเชยให้ทันที แต่ในบางเวลาเช่น ช่วงวอร์มอัฟ หรือเหยียบคันเร่งอย่างแรง หรือช่วงที่ Sensor เสีย ในจังหวะนี้ระบบจะทำงานเป็นแบบ Open loop กล่าวคือระบบจะไม่ใช้ข้อมูลการวัดอ๊อกซิเจนเซ็นเซอร์ในขณะนั้นมาใช้คำนวณการฉีดน้ำมันเนื่องจากมองว่าข้อมูลอาจไม่ถูกต้องดังนั้นในการปรับชดเชยการฉีดน้ำมันจะใช้มูลที่อ่านได้และเก็บไว้ก่อนหน้านี้การชดเชยนี้จะมีอยู่ 2 รูปแบบคือ

1. Short Term Fuel Trim(การปรับชดเชยการฉีดน้ำมันระยะสั้น) ค่านี้จะเป็นค่าที่คำนวณจากการอ่านออกซิเจนเซ็นเซอร์ในขณะนั้นเลยหรือเป็นแบบ Real time หรือ Close loop เพื่อให้อัตราส่วนผสมของน้ำมันกับอากาศเป็นไปตามทฤษฎี ในสภาวะปกติค่าที่ได้ควรจะอยู่ที่ 0 เปอร์เซ็นต์ ค่านี้จะไม้ใช้ในสภาวะ Open loop ค่านี้ยอมให้สวิงไปมาได้ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ โดยถ้าเกิน 10 % นานเกินระบบจะนำค่า LTF มาใช้แทนทันที และถ้าที่ได้สวิงลดลงอยู่ภายใต้ ­­+ 10% ก็จะกลับมาใช้ค่า STF เหมือนเดิม
2. Long Term Fuel Trim(การปรับชดเชยการฉีดน้ำมันระยะยาว) เป็นค่าที่คำนวณมาจากหลายๆ เซ็นเซอร์แล้วมาสะสมมานาน เช่น ออกซิเจนเซ็นเซอร์การรั่วของอากาศ การเปลี่ยนแปลงแรงดันน้ำมัน และอื่นๆ โดยค่านี้จะเก็บไว้อยู่ใน ROM ของเครื่องส่วนมากถูกนำมาใช้ในกรณีตอนสตาร์ทเครื่องใหม่ หรือตอนเหยียบคันเร่งอย่างแรง ตัวอย่างของโตโยต้า ถ้าค่าของทั้งสองรวมกันเกิน 40 % จะทำให้ไฟเครื่องยนต์ติดขึ้นมา ในบางครั้งปัญหานี้อาจเกิดจากปั๊มดูดน้ำมันจากถังได้ไม่ดี

MAF(Mass Air Flow)
เป็นเซ็นเซอร์วัดปริมาณและความหนาแน่นของอากาศที่ไหลเข้าสู่เครื่องยนต์ในเวลาหนึ่งๆ ECU จะใช้ข้อมูลนี้ร่วมกับข้อมูลอื่นๆเพื่อคำนวณการปริมาณของน้ำมันที่จะฉีดเข้าห้องเผาไหม้ ส่วนในทางอ้อมข้อมูลนี้จะใช้เพื่อกำหนดจังหวะการจุดระเบิด


ลิ้งค์หัวข้อ: บ้านหรรษา ดอทคอม/topic/51

LikePost โดย 4 สมาชิก :
kveera   ไม่พบชื่อผู้ใช้: 1025!   ไม่พบชื่อผู้ใช้: 3072!   Patiwat Vichana
สวัสดีครับคุณ ผู้เยี่ยมชม ร่วมสนับสนุน เว็ปบ้านหรรษา ดอทคอม ด้วยการสมัครสมาชิก VIP. สามารถโหลดข้อมูลได้ทั้งเวป   ;;tty; ;;tty;  ขออภัย! คุณไม่สามารถเห็นลิ้งค์ที่โพสต์นี้ได้ กรุณาสมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ
คลิ๊กเลย
 

 

ร่วมสนับสนุนเว็บ บ้านหรรษา ดอทคอม ด้วยการสมัครสมาชิก VIP. เพียง 500฿ ต่อปี