ความหมายของตัวอักษรโค้ด DTC1. S T F T (Short Term Fuel Trim )
เป็นระบบการควบคุมการจ่ายเชื้อเพลิงให้เครื่องยนต์ โดยใช้สัญญาณ Close Loop จากOxygen Sensor มาเป็น Feed Back ในการจัดการให้การจ่ายชื้อเพลิงอยู่ในส่วนผสมที่ดีที่สุด คือ 14.7 / 1 ( A/F Ratio ) อากาศ 14.7 ส่วน ต่อ เชื้อเพลิง 1 ส่วน เรียกจุดนี้ว่า Stoichiometry เป็นค่าทางฤษฎีที่เครื่องยนต์ พยายามทำให้ได้ตามนี้ ค่า Stoichometry คือค่า 0% โดยปกติค่า STFT จะมีค่าเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง +-10 % ถึง +-20% หากค่าเกิดกว่านี้มากๆ เป็นเวลานานๆ PCM หรือ ECU ก็จะส่งให้ค่านี้กลายเป็น DTC โดยแสดงค่าที่รูปเครื่องยนต์ หรือคำว่า Engine Check โดยทั่วไปจะขึ้น
Fault Code : P 0171 System Too Lean ( B 1 ) หรือ
P 0172 System Too Rich ( B1) หรือ
P 0174 System Too Lean ( B2) หรือ
P 0175 System Too Rich ( B2) หรือ
B1 = Bank 1 คือ ด้านทีมีสูบที่ 1 อยู่ด้วย เช่น เครื่องยนต์ V 6 ที่เป็นสูบ V เครื่องยนต์จะจัดวาง สูบที่ 1 – 3 อยู่ด้านหนึ่ง 4 – 6 ด้านหนึ่ง Bank 1 คือ ด้านที่สูบ 1 – 3
B 2 = Bank 2 ด้านที่ ไม่มีสูบ 1 อยู่
STFT เป็นค่าที่เก็บไว้ใน Memory ของ PCM or ECU แบบชั่วคราว และจะหายไปเมื่อดับเครื่องยนต์ (Turn off Ignition Switch )
และทุกครั้งที่ Start เครื่องยนต์ ระบบการฉีดเชื้อเพลิงจะใช้ค่าจาก LTFT ก่อน ในตอนแรก หรือไม่ก็ใช้ค่าจากตารางการฉีดน้ำมันใน ECU จากนั้นเมื่อเครื่องยนต์พร้อม ถึงอุณหภูมิทำงาน ( Engine Temp , O2 Sensor Heater Temp ) ระบบจะใช้ STFT ทำงานแทน ซึ่งเป็นแบบ Close Loop Control
2. LTFT (Long Term Fuel Trim )
สภาพการฉีดเชื้อเพลิงแบบ LTFT จะเป็นการเลียนแบบการฉีดจาก STFT มาเก็บไว้ใน Memory ชนิดถาวรแบบลบได้ ซึ่งเรียกว่า KAM ( Keep Alive Memory ) โดยจะคงอยู่ต่อไปจนกว่าจะใช้ OBD 2 Tool มาลบทิ้งไป KAM จะมี Battery เลี้ยงไว้ตลอดเวลา ( ไม่ใช่ Battery จากรถยนต์ )
ในตอนเช้า หรือขณะเครื่องยนต์เย็นอยู่ เมื่อ Start เครื่องยนต์ ์ระบบการจ่ายเชื้อเพลิงจะใช้รูปแบบการจ่ายเชื้อเพลิง จาก LTFT ที่ถูกบันทึกไว้ครั้งสุดท้ายก่อนดับเครื่องยนต์มาทำงาน หรือไม่ก็ใช้ค่าจากตารางการฉีดน้ำมันที่มีอยู่ใน ECU ซึ่งเรียกว่า การจ่ายเชื้อเพลิง แบบ Open Loop Control หลังจาก Start เครื่องยนต์แล้ว จนกระทั่งเครื่องยนต์อยู่ในสภาวะพร้อม คือ อุณหภูมิน้ำหล่อเย็น , อุณหภูมิเครื่องยนต์ , อุณหภูมิของ Heater ใน Oxygen Sensor อยู่ในสภาวะพร้อมใช้งาน PCM หรือ ECU จะเปลี่ยนรูปแบบการฉีดน้ำมันเป็นแบบ Close Loop Control หรือ STFT ด้วยการใช้ ค่า Oxygen sensor เป็นตัวหลักในการปรับแต่งรูปแบบการฉีดน้ำมัน
หน้าที่อีกประการของ LTFT คือ ในกรณีที่ Oxygen Sensor หรือระบบ Sensor ของ Feul System เกิดบกพร่อง เครื่องยนต์จะฉีดน้ำมันแบบ STFT ไม่ได้ แต่จะใช้ค่า การฉีดน้ำมันจาก LTFT ที่ได้ถูกบันทึกไว้มาทำการฉีดน้ำมันแทน ทำให้เครื่องยนต์ยังคงทำงานต่อไปได้ (ไม่ดับ) แต่อาจสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากขึ้น หรือ กำลังของเครื่องยนต์ไม่ดี เรียกได้ว่าสภาพเครื่องยนต์ไม่สมบูรณ์ ต้องรีบแก้ไข ทั้งหลายทั้งปวงข้างต้น ระบบ ECU จะแสดงค่า DTC ออกมาอย่างแน่นอน
3.MIL (Malfunction Indicator Lamp )
หรือเรียกว่า Check Engine หรือ Service Engine ไฟนี้จะติดขึ้นมาก็ต่อเมื่อมีการตรวจพบข้อบกพร่องจากการตรวจจับของ Sensor ต่างๆในระบบเครื่องยนต์ เนื่องจากต้องการควบคุมการปลดปล่อยมลพิษจากไอเสียเป็นสำคัญ
ไฟนี้ไม่ได้ หมายถึง การบำรุงรักษา เช่น ต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องหรือน้ำมันเกียร์
สำหรับระบบอื่นเช่น Air Bag , ABS นั้นก็จะมีไฟแสดงต่างหากออกไป
4.DTC (Diagnostic Trouble Code)
เมื่อเครื่องยนต์หรือระบบต่างๆของรถยนต์มีปัญหา ก็จะเกิดค่า DTC ขึ้น โดยค่านี้จะถูกเก็บไว้ On- Board ของ ECU (แบบกึ่งถาวร)
ค่า DTC จะถูกกำหนด โดย SAE J 1979 Standard Code ใช้สำหรับ OBD 2 หรือหากผู้ผลิตรถยนต์รายใดจะกำหนด DTC ของตนเอง ก็ต้องอ้างอิงรูปแบบจาก SAE
DTC จะกำหนดเป็นรูปแบบมาตรฐาน เพื่อให้เข้าใจง่ายและตรงกัน ดังนี้
P = DTC Alpha Designator ประกอบด้วย
B – Body Electronic เช่น ประตู ฝากระโปรงหน้า เป็นต้น
C – Chassis เช่น ระบบ ABS ,Traction control ,ESP เป็นต้น
P – Powertrain เช่น เครื่องยนต์ เกียร์ และส่วนที่ต้องใช้กำลังจากเครื่องยนต์ในการขับเคลื่อน(แอร์ ไดชาร์จ เป็นต้น)
U – Network Communication สำหรับ Control Modeที่แตกต่างกัน
ความหมายของตัวอักษรโค้ด
เช่น P 0 1 7 1
ตัวที่ 1 P 0 1 7 1
P = Powertrain หมายถึง เครื่องยนต์ + เกียร์
B = Body หมายถึง ระบบแอร์แบค อีโม เป็นต้น
C = Chassis หมายถึง ระบบ เอบีเอส, ระบบ ESP, ระบบ TRC เป็นต้น
U = Undefined หมายถึง ระบบการสื่อสารของสมองกล หรือกล่อง หรืออุปกรณ์อิเลคโทร นิคส์อื่น ๆ เช่น วิทยุ CD กับ กล่องสมองกล ECU รถ
ตัวที่ 2 P 0 1 7 1
0 = (Generic Code) หมายถึง โค้ดทั่วไป รถทุกยี่ห้อจะใช้รหัสปัญหาเดียวกัน เช่น P 0171 ระบบจ่ายเชื้อเพลิงบางเกินไป ไม่ว่ารถยี่ห้อใดก็จะเป็นปัญหานี้เหมือนกัน
1 = Enhanced โค้ดผู้ผลิต (Manufacturer code)
โค้ดทั่วไป นอกจากจะขึ้นด้วยศูนย์ ( 0 ) แล้ว ยังมี P2, P34 – P39, P3, B3, C3, U3 ด้วย
โค้ดผู้ผลิต จะเป็นดังนี้ได้ด้วย
P1 , P30 – P33
B1 , B2
C1 , C2
U1 , U2
ตัวที่ 3 P 0 1 7 1
ตัวที่ 3 ในที่นี้ คือ 1 หมายถึง ระบบจัดการการฉีดเชื้อเพลิงมีปัญหา ความหมายมีดังนี้
ตัวเลขเหล่านี้จะรันตั้งแต่ 0-9 โดยแต่ละตัวมีความหมายดังนี้
1 = Emission Management ( Fuel / Air ) ระบบการจัดการเรื่องอัตราส่วนผสม เชื้อเพลิงกับอากาศ เช่น กรองอากาศ , MAF เป็นต้น
2 = Injection Circuit ( Fuel / Air ) ระบบการฉีดเชื้อเพลิง มุ่งประเด็นไปที่การฉีดเชื้อเพลิง จำกัดวงปัญหาให้แคบลงมา
3 = Ignition or Misfire ระบบการจุดระเบิด หรือการมีสไฟร์
4 = Emission Control ระบบควบคุมมลภาวะ อาจเกี่ยวกับตัวออกซิเจนเซนเซอร์ด้านหลังแคทตะไลติกส์
5 = Vehicle Speed & Idle Control ระบบควบคุมรอบเดินเบา , ระบบจัดการเรื่องความเร็วรถยนต์ เช่น Speed Sensor หรือ IAC Valve (วาล์วเดินเบา)
6 = Computer & Output Circuit ระบบจัดการสมองกล ระบบการปล่อยสัญญาณควบคุม วงจรสัญญาณควบคุมต่าง ๆ
7 = Transmission ระบบส่งกำลัง
8 = Transmission ระบบส่งกำลัง
9 = SAE Reserved สำรองไว้ใช้งานในอนาคต ตามมาตรฐาน SAE
0 = SAE Reserved สำรองไว้ใช้งานในอนาคต ตามมาตรฐาน SAE
ตัวที่ 4 P 0 1 7 1
P0171 = System too Lean Bank 1 ระบบจ่ายเชื้อเพลิงบางเกินไป
P = ระบบต้นกำลัง คือ เครื่องยนต์
0 = โค้ดทั่วไป ทุกยี่ห้อจะเหมือนกัน
1 = ระบบจัดการส่วนผสม เชื้อเพลิงกับอากาศ เช่น มาตรวัดการไหลของอากาศ ( MAF ) , ไส้กรองอากาศ เป็นต้น
71 = ระบุชี้ชัดปัญหา หรือเป็นเลขที่ , ซีเรียล หรืออะไรก็ตามแต่ โดยรันตัวเลขตั้งแต่ 00-99 ไม่ได้มีความหมายอะไรชัดเจนคล้าย ๆ กับเลขแชสซีรถ เลขตัวท้าย ๆ ก็หมายถึง ซีเรียลนัมเบอร์Credit :: ขออภัย! คุณไม่สามารถเห็นลิ้งค์ที่โพสต์นี้ได้ กรุณา
สมัครสมาชิก หรือ
เข้าสู่ระบบลิ้งค์หัวข้อ: บ้านหรรษา ดอมคอม/topic/50