รีเลย์คืออะไร?
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
W3Schools.com
เทคนิคยานยนต์ทั่วไป

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

รีเลย์คืออะไร?  (อ่าน 3343 ครั้ง)
ผู้เขียน : Admin™
รีเลย์คืออะไร?

รีเลย์ (อังกฤษ: relay) คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ ทำหน้าที่ ตัด-ต่อวงจร คล้ายกับสวิตซ์ ภายในตัวรีเลย์ประกอบด้วยสองส่วนด้วยกันคือ คอยล์ และหน้าสัมผัส โดยคอยล์จะทำหน้าที่ในการดึงหน้าสัมผัสให้มาแตะกัน โดยใช้สนามแม่เหล็ก ตัวคอยล์จะประกอบด้วยขดลวดพันรอบแกนเหล็ก เมื่อทำการจ่ายไปไปยังขดลวด แกนเหล็กจะกลายเป็นแม่เหล็กดึงหน้าสัมผัสให้มาชนกัน เมื่อไม่มีการจ่ายไฟให้กับขดลวดหน้าสัมผัสจะถูกดึงกลับด้วยสปริง

รีเลย์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีใช้อยู่ใน วงการอิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่เป็นสวิทช์ไฟลำดับที่สอง (secondary switch) โดยมากมักจะใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าสูง รีเลย์อาจทำงานด้วยแรงดันต่ำมาก คือ 3 Volt ไปจนถึง 24 Volt

รีเลย์ในรถยนต์ทำงานด้วยแรงดัน 12 Volt และในทางปฏิบัติ เราเลือกใช้รีเลย์สำหรับรถยนต์กับรถยนต์เท่านั้น แม้ว่ารีเลย์ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยแรงดัน 12 Volt จะมีอยู่ แต่ไม่นิยมใช้ในรถยนต์ อาจเนื่องจากขาของรีเลย์มีรูปต่างต่างกัน ต้องแปลงขา - แปลงขั้วต่อจนทำให้วุ่นวายเกินเหตุ

รีเลย์ในรถยนต์ทำหน้าที่ดังนี้
 
รีเลย์ไฟเลี้ยว (แฟลชเชอร์)
รีเลย์ไฟหน้ารถ
รีเลย์พัดลมระบายความร้อนหม้อน้ำ
รีเลย์ตู้แอร์(คอยล์)เย็น
ปัมพ์เชื้อเพลิง(ระบบหัวฉีด)
รีเลย์ช่วยสตาร์ท
รีเลย์แตร
อื่นๆ




หน้าสัมผัสประกอบด้วย 3 ขาด้วยกัน (บางตัวอจามี 2 ขา แล้วแต่การเลือกใช้งาน)

ขา NO (normal open หรือขา 87) ขานี้จะต่อกับขา Common เมื่อทำการจ่ายไฟไปยังขดลวด และจะตัดเมื่อไม่มีการจ่ายไฟไปยังขดลวด(ทำงานตรงข้ามกับ NC)
ขา NC (normal close หรือขา 87a) ขานี้จะต่อกับขา Common เมื่อไม่มีการจ่ายไฟไปยังขดลวด และจะตัดเมื่อมีการจ่ายไฟไปยังขดลวด(ทำงานตรงข้ามกับ NO)
ขา Common (30) คือขาหลักที่ใช้ในการตัดต่อระหว่างขา NO และ NC
ตัวอย่างการใช้งานรีเลย์ในรถยนต์

ระบบเตือนภัย




ระบบล็อคประตู



ที่เรียกว่ารีเลย์เป็นสวิทช์อันดับสอง ย่อมบอกอยู่ในที่ว่ามีสวิทช์ลำดับที่หนึ่ง (Primary switch) ตัวอย่างของสวิทช์ลำดับที่หนึ่งก็ได้แก่ ก้านไฟเลี้ยวบนพวงมาลัย สวิทช์ไฟหน้าบนพวงมาลัย เซนเซอร์อุณหภูมิที่หม้อน้ำ สวิทช์แอร์บนคอนโทรลกลาง สวิทช์กุญแจ และ ปุ่มกดแตรที่พวงมาลัย

ลักษณะของสวิทช์ลำดับที่หนึ่งคือ เล็ก เบา ราคาสูง เป็นอุปกรณ์เฉพาะรุ่น ทนกระแสไฟฟ้าได้ไม่มาก บางครั้งออกแบบมาอย่างสวยงามเพราะต้องอยู่ในห้องผู้โดยสาร สวิทช์ลำดับที่หนึ่งบางแบบเป็นเซนเซอร์ เช่น เซนเซอร์อุณหภูมิที่หม้อน้ำ ด้วยเหตุทั้งหลายนี้ รีเลย์จึงเข้ามาทำหน้าที่เปิด-ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าที่กินกระแสไฟฟ้าสูงๆ อย่างน้อยก็แตรเป็นต้นไป

     จะเห็นได้ว่า Relay จะมีบทบาท กับอุปกรณ์ไฟฟ้า ในรถยนต์ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะระบบการทำงานหลัก ของรถยนต์ เช่นระบบจ่ายน้ำมัน และระบบระบายความร้อน ถ้า Relay ไม่ทำงานเพียงอย่างเดียว ก็สามารถทำให้ ต้องจอดรถข้างทางได้เช่นเดียวกัน

เรามักจะเรียกรีเลย์ติดปากว่า "รีเลย์ห้าขา" รีเลย์ที่ใช้ในรถยนต์มีตั้งแต่รีเลย์สามขา - รีเลย์สี่ขา - รีเลย์ห้าขา หรือมากกว่านั้นก็มี แต่จำนวนขาเพียงอย่างเดียว ไม่ได้บอกลักษณะการทำงานของมันแต่อย่างใด



รีเลย์บอชธรรมดา
มีห้าขา
รีเลย์แบบนี้พบเห็นได้ทั่วไป



รีเลย์แตร(แกะฝาออกแล้ว)
ปกติจะไม่มีนอกจากติดตั้งเพิ่มกันเอง

หลักการทำงานของ Relay 

ตัว Relay เองจะมีไฟบวกเข้ามาสองชุด

มาจากสวิทช์ไฟของอุปกรณ์ที่ Relay ควบคุม
มาจากชุดไฟหลัก
     เมื่อเปิดสวิทช์ไฟ ที่ควบคุมอุปกรณ์ ไฟ จะไปยัง Relay แล้วทำให้ขดลวดใน Relay กลายเป็นสนามแม่เหล็ก ดูดคานที่อยู่ ที่ปลายของขดลวด (ดูรูปรีเลย์แตร)  โดยที่ปลายของคานนี้ จะมีหน้าคอนแท็คท์ (Contact) อยู่ ตัวคอนแท็คทเอง จะมีไฟบวกที่มาจากไฟหลัก มารออยู่  เมื่อหน้าคอนแท็คท์ถูกดูด มาสัมผัสกัน ทำให้ไฟจากแบตเตอรี่ ถูกส่งต่อไปยังอุปกรณ์ที่สวิทช์นั้นควบคุม อุปกรณ์นั้นจึงเริ่มทำงาน
     จะเห็นว่าสวิทช์ ที่ผู้ขับรถเป็นผู้เปิด หรือจาก Sensor นั้นไม่ได้สั่งงาน ให้อุปกรณ์ที่ควบคุมนั้นทำงานโดยตรง แต่จะมาเปิดสวิทช์ อีกอันหนึ่ง ที่อยู่ในวงจร นั่นก็คือ Relay   สำหรับเหตุผลที่ต้องมีการใช้ Relay นั้นขึ้นอยู่ กับหน้าที่ของอุปกรณ์เหล่านั้น  เช่น มีการทำงานจาก Sensor ดังนั้น อาจจะมีการเปิดและปิดค่อนข้างถี่  อุปกรณ์ไฟฟ้านั้น อาจมีความต้องการกระแสไฟสูง  หรืออุปกรณ์ชนิดนั้น นอกจากมีการทำงานแล้ว ยังให้สัญญาณ ไปสั่งให้อุปกรณ์อีกอันหนึ่ง เริ่มทำงานพร้อมกันไปด้วย  เป็นต้น
   

รีเลย์จึงเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่มีอยู่ในรถทุกคัน และมีโอกาสที่จะทำให้อุปกรณ์นั้นๆ ไม่ทำงานได้ เนื่องจากหน้า Contact ของตัว Relay เอง อาจจะไหม้ เนื่องจากมีการใช้งานมาก  หรือขั้วต่อต่างๆไม่แน่น  เพราะอุณหภูมิที่ขาของรีเลย์สูงมากจน และสาเหตุอื่นๆ

ดังนั้น เมื่ออุปกรณ์ไฟฟ้าในรถไม่ทำงาน ไม่ต้องตกใจ  ลองตรวจดูว่า Fuse ขาด หรือ Relay ปกติหรือไม่  และเพื่อความไม่ประมาท ควรจะมี Relay  และ Fuse ติดไว้ในรถบ้าง ก็จะเป็นการดี  แต่ถ้าฉุกเฉิน ไม่สามารถหาได้จริงๆ ก็ไม่เป็นไร  ลองพิจารณาดูว่า อุปกรณ์ชนิดใด ที่มี Relay ใช้อยู่บ้าง และไม่มีความจำเป็น ต้องใช้ในขณะนั้น  เช่น กรณีที่ Relay ของพัดลมระบายความร้อนเสีย  แม้ว่าขณะนั้นเป็นเวลากลางคืน มีความจำเป็นต้องใช้ไฟส่องสว่า งแต่คุณอาจจะเอา Relay จากวงจรไฟสูง มาใช้ทดแทน Relay ของพัดลมระบายความร้อนก็ได้  เพื่อให้คุณสามารถนำรถไปถึงที่หมาย

แต่อย่าลืมว่า รีเลย์สองหน้าไม่สามารถใส่สลับกับรีเลย์บอชธรรมดาได้ เพราะ ลักษณะการต่อของขั้วไฟฟ้าต่างกัน ถ้าใส่สลับอาจเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้


   
 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ขออภัย! คุณไม่สามารถเห็นลิ้งค์ที่โพสต์นี้ได้ กรุณาสมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ

 

ลิ้งค์หัวข้อ: บ้านหรรษา ดอทคอม/topic/4852

สวัสดีครับคุณ ผู้เยี่ยมชม ร่วมสนับสนุน เว็ปบ้านหรรษา ดอทคอม ด้วยการสมัครสมาชิก VIP. สามารถโหลดข้อมูลได้ทั้งเวป   ;;tty; ;;tty;  ขออภัย! คุณไม่สามารถเห็นลิ้งค์ที่โพสต์นี้ได้ กรุณาสมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ
คลิ๊กเลย
 

 

ร่วมสนับสนุนเว็บ บ้านหรรษา ดอทคอม ด้วยการสมัครสมาชิก VIP. เพียง 500฿ ต่อปี