เรื่องน่ารู้ พร้อมวิธีการดูแลรักษาสำหรับ “ยางรถยนต์”
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
W3Schools.com
เทคนิคยานยนต์ทั่วไป

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ผู้เขียน : Admin™
เรื่องน่ารู้ พร้อมวิธีการดูแลรักษาสำหรับ “ยางรถยนต์”



เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับการดูแลรักษายางรถยนต์ ความรู้เรื่องยาง หน้าที่ของยาง โครงสร้างพื้นฐานของยาง ส่วนประกอบของยาง ดอกยาง  สัญลักษณ์บนยาง การดูแลรักษายางรถยนต์ สาเหตุที่ต้องเปลี่ยนยาง ผลจากการสูบลมยาง อายุยางกับการบรรทุก อายุยางกับการใช้ความเร็ว การสลับยางและการตั้งศูนย์ถ่วงล้อ การเปลี่ยนแปลงขนาดยาง การเปลี่ยนขนาดกระทะล้อที่เหมาะกับยาง การตรวจเช็คสภาพยางก่อนเดินทาง วิธีดูรหัสบนตัวยาง วิธีดูรหัสล้อแม็กซ์…

1. หน้าที่ของยาง

หน้าที่หลัก 4 ประการของยางรถยนต์
1. รับน้ำหนักรถยนต์และน้ำหนักบรรทุก
2. ลดแรงกระแทกและสั่นสะเทือนจากพื้นถนน
3. เป็นตัวกลางถ่ายทอดพลังงานขับเคลื่อน และการหยุดรถลงสู่พื้นผิวถนน
4. ทำให้รถเปลี่ยนทิศทางได้ตามความประสงค์

2. โครงสร้างพื้นฐานของยางรถยนต์ (Basic Structure)



1. หน้ายาง (Tread) เป็นส่วนที่อยู่นอกสุดของยาง และเป็นส่วนที่สัมผัสผิวถนน ทำหน้าที่ป้องกันของมีคม ที่จะทำอันตรายต่อโครงยาง ที่หน้ายางก็ประกอบไปด้วยดอกยางและร่องยาง เพื่อทำหน้าที่ในการยึดเกาะถนนมีแรงกรุยเวลาวิ่ง เบรกหยุดได้มั่นใจ เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันนี้ดอกยางมีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็จะให้ประสิทธิภาพที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น ควรเลือกชนิดของดอกยางให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน

2. ไหล่ยาง (Shoulder) ประกอบด้วยเนื้อยางที่หนา หน้าที่ของเนื้อยางก็คือ ป้องกันอันตรายที่จะมีต่อโครงยาง ปกติไหล่ยางจะถูกออกแบบเป็นร่องให้เหมาะสมเพื่อช่วยระบายความร้อนภายในยางออกมาได้ง่าย

3. แก้มยาง (Sidewall) เป็นส่วนนอกสุดของยางที่ไม่ได้สัมผัสพื้นถนนที่รถวิ่งอยู่ ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายที่มีต่อโครงยางและเป็นยางส่วนที่ยืดหยุ่น (Flexible) มากที่สุดของยาง

4. โครงยาง (Carcass) เป็นส่วนประกอบหลักของยาง ซึ่งมีบทบาทสำคัญที่จะรักษาความดันลมภายในยางเพื่อให้ยางสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ รวมทั้งต้องทนทานต่อแรงกระแทกหรือ สั่นสะเทือนจากถนนที่มีต่อยางได้ดี

5. ผ้าใบเสริมหน้ายาง หรือ เข็มขัดรัดหน้ายาง (Breaker or Belt) เป็นชั้นที่อยู่ระหว่างหน้ายาง (Tread) กับโครงยาง (Carcass) ในกรณีของยางธรรมดา (Bias Tire) เราเรียกว่า “ผ้าใบเสริมใยหน้ายาง (Breaker)” และในกรณีของยางเรเดียล (Radial Tire) จะเรียกว่า “เข็มขัดรัดหน้ายาง (Belt)” ซึ่งทำหน้าที่ให้หน้ายางมีความแข็งแรงเพิ่มขึ้น รับแรงกระแทกได้ดี และป้องกันไม่ให้โครงยางชำรุดเสียหาย
* หมายเหตุ มียางธรรมดา (Bias) บางรุ่นที่สภาพการใช้งานไม่รุนแรง อาจจะออกแบบโดยไม่มีชั้นของผ้าใบเสริมหน้ายาง (Breaker) ก็ได้

6. ขอบยาง (Bead) ประกอบด้วยกลุ่มของเส้นลวดเหล็กกล้า (High Carbon Steel) ที่ช่วยยึดส่วนปลายทั้ง 2 ข้างของโครงยางไว้ เพื่อให้บริเวณขอบยาง (Bead) มีความแข็งแรง สามารถยึดแน่นสนิทกับกระทะล้อได้ดี เมื่อนำไปใช้งาน

สำหรับยางรถยนต์ที่ไม่ใช้ยางใน (Tubeless Tire) ขอบยางเป็นส่วนที่สำคัญที่จะต้องทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ลมยางรั่วซึมออกมา ยางรถยนต์ซึ่งด้านหนึ่งประกอบด้วยขดลวด (Bead wire) ขอบยางเป็นส่วนที่สำคัญที่จะต้องทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ลมยางรั่วซึมออกมา

3. ส่วนประกอบของยางโดยน้ำหนัก

    14% ยางธรรมชาติ
    27% ยางสังเคราะห์
    28% ผงถ่าน
    10% น้ำมัน
    4% สารเคมี
    4% เส้นใย
    10% เส้นลวด
    3% อื่นๆ

4. ดอกยาง

ส่วนประกอบดอกยางจะเป็นเนื้อยางธรรมชาติ หรือ ยางสังเคราะห์ ขึ้นอยู่กับการใช้งาน
ยางธรรมชาติ – ให้ความยืดหยุ่น ระบายความร้อนดี แต่ไม่ทนสึก
ยางสังเคราะห์ – ให้ความยืดหยุ่นน้อย ระบายความร้อนพอใช้ แต่ทนสึก

ส่วนประกอบของดอกยาง
1 .ดอกยาง – สัมผัสถนนทำหน้าที่ยึดเกาะถนน
2. ร่องยาง – ร่องระบายน้ำ รีดโคลน
3. ร่องเล็กบนดอกยาง – ช่วยเกาะถนน เพิ่มความยืดหยุ่นในดอกยาง

รูปแบบของดอกยาง

ลักษณะ                 ดอกเรียบ RIB    ดอกบั้ง LUG    ดอกผสม MIX
คุณลักษณะพิเศษ         ดอกยาง 60:ร่องยาง 40 / พื้นที่เกาะถนนมาก ดอกยางต่อเนื่อง    ดอกยาง 40:ร่องยาง 60 / ดอกยางอิสระ เพิ่มขอบตะกุย    ดอกยาง 50:ร่องยาง 50 / ดอกยางอิสระ เรียงตัวเหมือนดอกเรียบ
คุณประโยชน์    เกาะถนนดี บังคับแม่นยำ รีดน้ำเต็มประสิทธิภาพ    มีแรงกรุยสูง ลุยโคลน หิมะ ร่องยางใหญ่ สลัดโคลน    เกาะถนนลดลง แต่เริ่มแรงกรุย / รีดน้ำเต็มประสิทธิภาพ
คุณลักษณะเสริม    เสริมด้วยร่องเล็กในดอกยาง ยืดหยุ่น เพิ่มแรงกรุย    ดอกยางมีเหลี่ยมกัด    เสริมด้วยร่องเล็กในดอกยาง ยืดหยุ่นเพิ่มแรงกรุย
การใช้งาน    รถเก๋ง รถบัสโดยสาร ล้อหน้ารถบรรทุก    รถขับเคลื่อน 4 ล้อ, ล้อหลังรถบรรทุก, รถไถนา    รถ SUV, รถตรวจการณ์

 

5. สัญลักษณ์บนยาง



1. ชื่อผู้ผลิตยาง
2. ชื่อรุ่นยางของผู้ผลิต
3. ความกว้างของหน้ายาง (หน่วยเป็นมิลลิเมตร)
4. อัตราความสูงของแก้มยางต่อความกว้างของหน้ายาง(ซีรีส์) มีหน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์ (%)
5. เส้นผ่าศูนย์กลางกระทะล้อ (หน่วยเป็นนิ้ว)
6. ดัชนีการรับน้ำหนัก (Load Index)
7. สัญลักษณ์ความเร็ว (Speed Symbol)

ตารางดัชนีน้หนักบรรทุก (Load Index)

Load Index    กิโลกรัม    Load Index    กิโลกรัม    Load Index    กิโลกรัม
80    450    91    615    102    850
81    462    92    630    103    875
82    475    93    650    104    900
83    487    94    670    105    925
84    500    95    690    106    950
85    515    96    710    107    975
86    530    97    730    108    1000
87    545    98    750    109    1030
88    560    99    775    110    1060
89    580    100    800    111    1090
90    600    101    825    112    11120

 
สัญลักษณ์ความเร็ว (Speed Symbol)

สัญลักษณ์    ความเร็ว (กม./ชม.)
S    180
T    190
H    210
VR    เกินกว่า 210
V    240
W    270
ZR    เกินกว่า 240

 
6. การดูแลรักษายางรถยนต์



1. ตรวจเช็คลมยางสม่ำเสมอ (เติมลมตามคู่มือที่กำหนด)
2. หลีกเลี่ยง น้ำมัน สารเคมีต่างๆ ที่อาจจะมีปฏิกิริยากับเนื้อยาง
3. ขับขี่ด้วยความระมัดระวัง หลีกเลี่ยงพื้นที่ก่อสร้างหรือ เศษวัสดุแหลมคมต่างๆ
4. ตรวจเช็คช่วงล่าง ศูนย์ล้อ และสลับยางทุก 10,000 กม.
5. ไม่ขับเบียด หรือจอดชิดขอบถนน
6. เลือกใช้ยางที่มีขนาดเดียวกัน รุ่นเดียวกัน

7. สาเหตุที่ต้องเปลี่ยนยาง

1. ยางหมดอายุการใช้งาน (2 ปี หรือ 50,000 กม.มาตรฐานของโรงงานผู้ผลิตยาง)
2. ดอกยาง แข็ง กระด้าง บวม เสียงดัง มีรอยแตกร้าว
3. ไม่ยึดเกาะถนนเวลาเข้าโค้ง ลื่นไถล
4. เบรกไม่อยู่ ระยะเบรกยาว
5. มีรอยบาดแผลที่ยาง (โดยเฉพาะบริเวณแก้มยาง)
6. ไม่สามารถเก็บลมอยู่ได้
7. ดอกยางหมดถึงจุดที่กำหนด (TWI: Tread Wear Indicator)

8. ผลจากการสูบลมยาง


กรณีสูบลมยางน้อยกว่ากำหนด:
• อายุยางลดลง
• บริเวณไหล่ยางจะสึกหรอเร็วกว่าส่วนอื่น ๆ
• เกิดความร้อนสูงที่ไหล่ยางทำให้เนื้อยางไหม้แยกจากกัน
• โครงยางบริเวณแก้มยางฉีกขาด หรือหักได้
• สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง
• หน้ายางฉีกขาดง่ายที่ความเร็วมากกว่า100กม/ชม.

กรณีสูบลมยางมากกว่าเกินกำหนด:
• ลื่นไถลได้ง่าย เนื่องจากพื้นที่ยึดเกาะถนนลดลง
• โครงยางระเบิดง่ายเมื่อได้รับแรงกระแทก หรือถูกตำ เนื่องจากโครงยางเบ่งตัวเต็มที่ เกิดการยืดหยุ่นได้น้อย
• ดอกยางจะสึกบริเวณตอนกลางมากกว่าส่วนอื่นๆ
• อายุยางลดลง
• ไม่สะดวกสบายในการขับขี่

9. อายุยาง กับ การบรรทุก (Load Capacity)

น้ำหนักบรรทุกมีผลอย่างมากต่ออายุของยาง จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องควบคุมน้ำหนักบรรทุกให้มีความสัมพันธ์กับความดันลมยางให้มากกว่ากำหนด เพื่อเพิ่มความสามารถในการรับน้ำหนักของยางให้มากขึ้น เพราะการเพิ่มความดันลมยางให้มากขึ้น จะมีผลต่อยางที่กล่าวมาแล้ว ในกรณีที่บรรทุกน้ำหนักเกินอัตรา ก็จะทำให้
- โครงยางบริเวณแก้มยาง หรือ ขอบยาง หักหรือระเบิดได้ง่ายเนื่องจากด้านน้ำหนักที่กดลงมาไม่ไหว
- ความร้อนภายในยางจะเกิดสูงขึ้นมาก ทำให้การยึดเกาะระหว่างเนื้อยางกับโครงยางลดลง และแยกออกจากกันได้ง่าย
- การบิดตัวของหน้ายางมีมาก ทำให้ยางสึกหรอเร็ว และสึกหรอไม่เรียบ ทำให้อายุยางลดลง

กราฟความสัมพันธ์ระหว่างการบรรทุกและอายุยาง
- ถ้าบรรทุกน้ำหนัก 80% ของมาตรฐาน อายุยางจะได้ 160%
- ถ้าบรรทุกน้ำหนัก 100% ของมาตรฐาน อายุยางจะได้ 100%
- ถ้าบรรทุกน้ำหนัก 130% ของมาตรฐาน อายุยางจะเหลือ 60%
- ถ้าบรรทุกน้ำหนัก 150% ของมาตรฐาน อายุยางจะเหลือ 40%

10. อายุยางกับการใช้ความเร็ว (Speed)


“Tire Break-In” คือการขับรถเมื่อเปลี่ยนยางใหม่ด้วยความเร็วไม่เกิน 60 กม/ชม อย่างน้อย 200 กม.แรก หรือ 50 กม/ชม ระยะ 300 กม.แรก เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของยางก่อนใช้งานในสภาพทั่วไป
การขับเร็วจะมีผลต่อยาง ดังนี้
- อายุยางลดลง เพราะยิ่งขับเร็วความร้อนภายในยางจะสูง ยิ่งความร้อนสูงทำให้ยางสึกหรอเร็วขึ้น อายุยางจึงลดลง
- เนื้อยาง และโครงยางอาจจะไหม้ละลาย และแยกออกจากกัน
- สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง เพราะวิ่งด้วยความเร็วสูง การบิดตัวของโครงยางก็จะเพิ่มขึ้น ทำให้พลังงานที่สูญเสียเนื่องจากการบิดตัวของโครงยาง
- ถ้ามีการหยุดรถอย่างกะทันหัน จะทำให้หน้ายางฉีกขาดได้ง่าย

11. การสลับยางและการตั้งศูนย์ถ่วงล้อ


การสลับยางนั้นจุดประสงค์เพื่อต้องการให้ยางทุกเส้นมีการสึกของดอกยางเท่ากันสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตำแหน่งล้อหน้าจะเกิดจากความดันยางแล้ว สภาพของศูนย์ล้อที่ไม่ถูกต้องก็เป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้ยางผิดปกติ และมีอายุการใช้งานสั้นลง การตั้งศูนย์และถ่วงล้อ นอกจากจะเป็นการเพิ่มอายุการใช้งานแล้ว ยังช่วยลดการสึกหรอผิดปกติลดปัญหาการสั่นเต้น หรืออาการดึงที่พวงมาลัยลงได้อีกด้วย
• เพื่อให้ยางมีอายุการใช้งานได้นาน ควรสลับยางทุกๆ 10,000 ก.ม. โดยปกติควรตรวจสอบศูนย์ล้อ ทุกๆ 4 – 6 เดือน หรือทุกครั้งที่เปลี่ยนยางใหม่ หรือในกรณีที่สังเกตเห็นยาง เริ่มสึกหรอผิดปกติ
• ก่อนทำการถ่วงล้อ สิ่งสำคัญคือ ต้องแน่ใจว่าล้อและยางหมุนคล่องไม่แกว่งและกลมจริง เพราะถ้าหากยางอยู่ในสภาพไม่ดี จะแก้ไขเช่นไร ก็คงจะให้ประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ได้ยาก
• การถ่วงล้อหลังก็มีความสำคัญเท่ากับการถ่วงล้อหน้า ดังนั้นตะเป็นการดีที่สุดถ้าหากทำการถ่วงล้อหรือสมดุลล้อทั้ง 4 ล้อในคราวเดียวกัน

12. การเปลี่ยนแปลงขนาดยาง

โดยที่ขนาดยางเส้นใหม่มีความแตกต่างไปจากขนาดเดิม มีจุดที่จะต้องคำนึงถึง อยู่ 2 ประการ คือ
- ความสามารถในการรับน้ำหนัก ต้องไม่น้อยกว่าขนาดเดิม
- เส้นผ่าศูนย์กลางของยาง ต้องใกล้เคียงขนาดเดิม

ผลเสียของการเปลี่ยนขนาดยางที่ไม่ตรงตามขนาดที่กำหนดของรถ มีดังนี้

ขนาดยางเล็กเกินไป
- ความสามารถในการรับน้ำหนักลดลง
- สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง
- มาตรวัดความเร็วคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง

ขนาดยางใหญ่เกินไป
- ยางเสียดสีกับส่วนหนึ่งส่วนใดของรถ
- พวงมาลัยหนักขณะใช้ความเร็วต่ำ
- มาตรวัดความเร็วคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง

13. การเปลี่ยนขนาดกระทะล้อที่เหมาะกับยาง

กระทะล้อกว้างเกินไป
- ความสามารถในการยึดเกาะถนนลดลง
- ความนุ่มนวลในการขับขี่ลดลง
- ดอกยางสึกผิดปกติ

กระทะล้อแคบไป
- ความสามารถในการยึดเกาะถนนลดลง
- ขอบยางเสียหายได้ง่าย
- ดอกยางสึกผิดปกติ

ลิ้งค์หัวข้อ: บ้านหรรษา ดอทคอม/topic/79

LikePost โดย 0 สมาชิก :

สวัสดีครับคุณ ผู้เยี่ยมชม ร่วมสนับสนุน เว็ปบ้านหรรษา ดอทคอม ด้วยการสมัครสมาชิก VIP. สามารถโหลดข้อมูลได้ทั้งเวป   ;;tty; ;;tty;  ขออภัย! คุณไม่สามารถเห็นลิ้งค์ที่โพสต์นี้ได้ กรุณาสมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ
คลิ๊กเลย
 

 

ร่วมสนับสนุนเว็บ บ้านหรรษา ดอทคอม ด้วยการสมัครสมาชิก VIP. เพียง 500฿ ต่อปี