บ้านหรรษา ดอทคอม

แจกคู่มือซ่อมรถยนต์ ข้อมูลรถยนต์ บอร์ดฟรี..สำหรับสมาชิกทั่วไป => ประสบการณ์งานซ่อม => ข้อความที่เริ่มโดย: Admin™ ที่ 24/ก.ค./2015

หัวข้อ: ระบบวิเคราะห์ปัญหาด้วยตัวเอง ของเครื่องโตโยต้า EFI
เริ่มหัวข้อโดย: Admin™ ที่ 24/ก.ค./2015
(http://www.uppic.org/image-0DF7_55B149A3.gif)


ความจริงแล้วระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงที่ควบคุมด้วยกล่องอีซียู ไม่ยากอย่างที่คิดเลย
เพราะอะไร
ถึงว่าไม่ยาก เพราะในระ บบ EFI ได้ออกแบบให้มีการตรวจเช็คข้อผิดพลาดของตัวมันเอง
ถ้าผิดปกติ จะแจ้งให้ผู้ใช้หรือช่างได้ทราบทันที ผ่านหลอดไฟเตือนที่เป็นรูปเครื่องยนต์ที่หน้าปัด

(http://www.uppic.org/image-6CDB_55B1451B.jpg)

(http://www.uppic.org/image-55F9_55B149A3.gif)

เราคงจะเข้าใจการทำงานของหลอดไฟเช็คเอนจิ้นในโหมดการเช็คหลอดกันดีแล้ว ทีนี้เรา
จะมาดูถ้าเกิดหลอดไฟดวงนี้ติดสว่างขึ้นมา ในขณะที่เครื่องยนต์ทำงานแล้วไม่ยอมดับ ดับเครื่องแล้วสตาร์ท
กันใหม่ก็ขึ้นมาอีก  ในเบื้องต้นอาจจะทดลองล้างหน่วยความจำของอีซียูดู ถ้าทำแล้วไฟเช็คเอนจิ้นยังคงติด
อยู่ แบบนี้แสดงว่าเกิดปัญหาขึ้นในระบบ EFI ของเราแล้ว

       แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ตัวตรวจจับตัวใดมีปัญหา งานนี้เราจะต้องมีการจั๊มขั้ว  เพื่อการอ่านโค๊ดกันแล้วล่ะ
ถ้าเป็นรถโตโยต้า รุ่นกลางกลางจนไปถึงรุ่นเก่า เราจะจั๊มขั้ว TE1 กับ E1 ที่กล่อง DIAGNOSIS ซึ่งกล่องนี้
จะอยู่ภายในห้องเครื่องยนต์บริเวณมุมโช๊คหน้าซ้าย

(http://www.uppic.org/image-F847_55B1451B.jpg)

เมื่อเปิดฝาดูจเห็นว่าด้านในของฝา จะมีตารางบอกตำแหน่งของขั้วต่าง ๆ ชัดเจน
(http://www.uppic.org/image-794B_55B145B3.jpg) (http://www.uppic.org/image-69DE_55B145B3.gif)


(http://www.uppic.org/image-A764_55B149A3.gif)

ให้จั๊ม (หรือช๊อตขั้ว) ระหว่างขา TE1 กับ  E1




(http://www.uppic.org/image-5D71_55B145B3.jpg)


หรือจั๊มแบบนี้ ใช้สายไฟธรรมดานี่เอง ปอกหัวท้าย แล้วงอจั๊มไประหว่างขั้ว TE1 กับ  E1

(http://www.uppic.org/image-4A3C_55B145B3.jpg)


สังเกตุดีๆ จะเห็นขั้ว W ในกล่อง Diagnosis ซึ่งหมายถึงเป็นขั้วสายที่มาจากกล่อง ECU เป็นขั้วเอาไว้
ต่อผ่านหลอดไฟ เข้าที่ +B (ขั้วนี้เป็นไฟ 12V ไฟจะมาเมื่อเปิดสวิทช์กุญแจ) หลอดไฟดวง
นี้จะทำงาน
เหมือนกับไฟเช็คเอนจิ้นที่หน้าปัด (เพราะเราพ่วงกัน)
หัวข้อ: Re: ระบบวิเคราะห์ปัญหาด้วยตัวเอง ของเครื่องโตโยต้า 4A-FE
เริ่มหัวข้อโดย: Admin™ ที่ 24/ก.ค./2015
ในอดีตรหัสปัญหาจะมีน้อย ก็เลยใช้เป็นรหัสเดี่ยว หมายถึง นับจำนวนครั้งที่ไฟเช็คเอนจิ้นกระพริบ ว่ากระพริบกี่ครั้ง
เช่นกระพริบนับแล้วได้ 7 ครั้ง เราเรียกว่า รหัส 7  ต่อมามีตัวตรวจจับเพิ่มขึ้นหรือระบบรถเริ่มซับซ้อนขึ้น ก็พัฒนาเพิ่มมา
มีรหัสคู่ ปัจจุบันรหัสปัญหา จะเป็นรหัสคู่ คือ ต้องใช้สัญญาณไฟกระพริบ 2 ชุดมารวมกัน จะได้เป็น 1 รหัส
เช่น กระพริบ 2 ครั้ง แล้วเว้นวรรคสักหน่อย แล้วกระพริบอีก 2 ครั้ง เมื่อนำมารวมกันจะได้เป็น รหัส 22
ซึ่งหมายถึงมีปัญหาที่ สัญญาณเซนเซอร์อุณหภูมิน้ำหล่อเย็น ถ้าเริ่มกระพริบ 3 ครั้ง แล้วดับนานนิดหนึ่งแล้วกระพริบ
อีก 1 ครั้ง จะเป็นรหัส 31  ไปลองฝึกอ่านกันดู

(http://www.uppic.org/image-16DB_55B1467A.jpg)

การอ่านค่า ควรอ่านไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมดแล้วจะวนเริ่มต้นใหม่อีกเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ
ดังนั้นเมื่อเราอ่านค่าและจดรหัสไว้ จนจดได้ซ้ำรหัสเดิม แสดงว่ารหัสปัญหาอ่านได้ครบแล้ว
เราก็นำรหัสที่ได้ไปเทียบในตารางด้านล่างว่า เป็นปัญหาที่จุดใด

(http://www.uppic.org/image-0EC9_55B1467A.jpg)

(http://www.uppic.org/image-D0E5_55B1467A.jpg)
หัวข้อ: Re: ระบบวิเคราะห์ปัญหาด้วยตัวเอง ของเครื่องโตโยต้า EFI
เริ่มหัวข้อโดย: skautoservice ที่ 06/ก.ย./2021
ขอบคุณครับ