โครงการอ่างเก็บน้ำคลองหัวช้างฯ จังหวัดพัทลุงขออภัย! คุณไม่สามารถเห็นลิ้งค์ที่โพสต์นี้ได้ กรุณา
สมัครสมาชิก หรือ
เข้าสู่ระบบโครงการอ่างเก็บน้ำคลองหัวช้างอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
เมื่อปี 2505 นายเปรม อักษรสว่าง สมาชิกสภาจังหวัดพัทลุงและนายกพุทธิกสมาคมบางแก้ว ได้นำสมาชิกฯ ยุวกสิกรและประชนประมาณ 500 คน ขุดลอกเหมืองส่งน้ำจากคลองตะโหมดหรือ คลองท่าเชียดเพื่อนำไปใช้ในเขตอำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง แต่ไม่ได้ผล เนื่องจากจะต้องขุดเหมืองส่งน้ำลึกประมาณ 5-6 เมตร ซึ่งเกินกำลังที่เกษตรกรจะทำได้ ต้องใช้เทคนิคและเครื่องจักรเครื่องมือใน การดำเนินงาน จึงร้องเรียนผ่านชลประทานภาคใต้ในสมัยนั้น ขอให้พิจารณาเปิด โครงการท่าเชียดขึ้น เพื่อช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกดังกล่าวชลประทานภาคใต้ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไป พิจารณาเห็นว่าลู่ทางที่จะเปิดการก่อสร้างโครงการฯ ขึ้นได้จึงส่งเจ้าหน้าที่ออกไปทำการสำรวจรายละเอียดภูมิประเทศและสถิติต่าง ๆ เพื่อนำมาวางโครงการและออกแบบ และได้ก่อสร้างโครงการเสร็จสิ้นในปี พ. ศ.2514 มีพื้นที่ทั้งหมด 121,527 ไร่ พื้นที่ชลประทาน 100,000 ไร่
ขออภัย! คุณไม่สามารถเห็นลิ้งค์ที่โพสต์นี้ได้ กรุณาสมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ
วันที่ 14 กันยายน 2520 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาโครการชล ประทานเพื่อช่วยเหลือการทำนาในเขตจังหวัดพัทลุง ต่อมาสำนักงานชลประทานที่ 12 (ปัจจุบันคือสำนักชลประทานที่ 16) ได้รับหนังสือจากอำเภอตะโหมด ที่ พท. 0616/256 ลงวันที่ 25 มกราคม 2532 ขอให้พิจารณาความเป็นไปได้โครงการอ่างเก็บน้ำโละหนุน ตามพระราชดำริ เพื่อช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกในเขตโครงการชลประทานท่าเชียด จำนวน 100,000 ไร่ และลดอันตรายจากอุทกภัยในเขตอำเภอตะโหมด อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ประธาน สภาตำบลตะโหมด (นายบุญชอบ เพชรหนู) ประธานสภาตำบลคลองใหญ่ (นายหวัง เสถียร) และประธานตำบลแม่ขรี (นายสวัสดิ์ มุสิกะสงค์) ได้มีหนังสือ ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2533 เรียนราชเลขาธิการ ขอพระราชทานสร้างอ่างเก็บน้ำคลองหัวช้าง โดยให้เหตุผลว่า ท้องที่ตำบลตะโหมด ตำบลคลองใหญ่ ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง รวม 25 หมู่บ้านประชากร 21,443 คน มีการทำนาทำสวนเป็นอาชีพหลัก เนื้อที่การเกษตร 73,158 ไร่ แต่การประกอบอาชีพ ดังกล่าวไม่ได้ผลเต็มที่ เนื่องจากขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร และเป็นคลังจ่ายน้ำให้กับโครงการชลประทานท่าเชียด
ขออภัย! คุณไม่สามารถเห็นลิ้งค์ที่โพสต์นี้ได้ กรุณาสมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ
ต่อมาราชเลขาธิการ ได้มีหนังสือ ที่ รล 0005 / 10206 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2533 เรียนอธิบดีกรมชลประทาน และหนังสือที่ รล 0005 / 10207 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2533 เรียนผู้ว่าราชการ จังหวัดพัทลุง แจ้งให้ทราบถึงความประสงค์ของราษฎรที่ต้องการให้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองหัว ช้าง จึงขอให้พิจารณาในเรื่องนี้ และหากมีความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะประการใด แจ้งให้สำนักราชเลขาธิการทราบด้วย
จากการประสานงานระหว่างกรมชลประทาน โดยสำนักชลประทานที่ 12 (ปัจจุบันคือ สำนักชลประทานที่ 16) กับจังหวัดพัทลุง เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่จะดำเนินการในเรื่องนี้ และได้ดำเนินการพิจารณา เบื้องต้นแล้วเสร็จเมื่อเดือนตุลาคม 2533
สำนัก ชลประทานที่ 12 ได้มีบันทึกที่ กษ 0337 / 350 ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2533 เรียนอธิบดีกรมชลประทาน เห็นสมควรขอพระราชทานโครงการเป็นโครงการพระราชดำริ
กรมชลประทานได้มีหนังสือที่ กษ 0301 / 1825 ลงวันที่ 11 มีนาคม 2534 เรียนราชเลขาธิการ เพื่อนำความกราบบังคมทูลพระกรุณารับเป็นโครงการอันเนื่อง มาจากพระราชดำริ
สำนักราชเลขาธิการ ได้มีหนังสือที่ รล 0005 / 5226 ลงวันที่ 18 เมษายน 2534 และหนังสือที่ รล 0005 / 5227 ลงวันที่ 18 เมษายน 2534 แจ้งให้กรมชลประทานและผู้ว่าราชการจังหวัดทราบ ตามลำดับ ว่าความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯรับเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
กองวางโครงการ ได้ดำเนินการศึกษาและรายงานโครงการเสร็จเรียบร้อยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2540 ซึ่งต่อมาโครงการชลประทานพัทลุง ได้มีบันทึกที่ กษ 0337.02/686 ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2540 เรียน ผสก.ผชป.12 (ปัจจุบัน ผส.ปช.16) เพื่อโปรดพิจารณาขออนุมัติกรมฯ ตั้งงบประมาณก่อสร้างในปี 2541 ต่อไป
ขออภัย! คุณไม่สามารถเห็นลิ้งค์ที่โพสต์นี้ได้ กรุณาสมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ
ที่ตั้งของโครงการ :
บ้านหัวช้าง (หมู่ที่ 2) และ บ้านคลองนุ้ย (หมู่ที่ 5) ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมดจังหวัดพัทลุง
ที่มา ขออภัย! คุณไม่สามารถเห็นลิ้งค์ที่โพสต์นี้ได้ กรุณา
สมัครสมาชิก หรือ
เข้าสู่ระบบลิ้งค์หัวข้อ: บ้านหรรษา ดอมคอม/topic/6010