บ้านหรรษา ดอมคอม

ห้องทั่วไป ประกาศขายของ ฝากร้าน => นานาสาระ => ข้อความที่เริ่มโดย: Admin™ ที่ 05/พ.ค./2015

หัวข้อ: แปะก๊วยพืชสมุนไพรจากประเทศจีน
เริ่มหัวข้อโดย: Admin™ ที่ 05/พ.ค./2015
แปะก๊วยพืชสมุนไพรจากประเทศจีน
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/241/29241/images/Ginkgo/gingko001.JPG)

(https://encrypted-tbn1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTZeGjtAVcFcKd2US0ZrDkB_wFAB46SR3xlyf-_wlM38USldH8MZA)

เป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดจากทางตะวันออกของประเทศจีน
(แถบภูเขาด้านตะวันตกของนครเซี่ยงไฮ้) ที่มีการแยกต้นเป็นเพศผู้ และเพศเมีย
ใบมีลักษณะคล้ายใบพัด แยกออกเป็น 2 กลีบพบว่ามีการนำเข้าไปปลูกในประเทศญี่ปุ่น
พร้อมกับการเผยแผ่ศาสนาพุทธนิกายเซน เมื่อประมาณ ช่วงราวค.ศ. 1300
หรือสมัยคามากุระมีลักษณะพิเศษคือจะผลัดใบไม่พร้อมกันทุกต้น แต่เมื่อผลัดใบ
ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วร่วงหล่นทั้งต้นภายในไม่กี่วัน
แปะก๊วยเป็นพืชที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 270 ล้านปีก่อน ถือกำเนิดขึ้นในยุคเพอร์เมียน
เมื่อประมาณ 290 ล้านปีมาแล้ว และมีชีวิตต่อมาในมหายุคมีโซโซอิก ในสมัยเดียว
กับไดโนเสาร์ จึงเป็นอาหารของไดโนเสาร์กินพืช

สำหรับชื่อตามความหมายแปลว่า "ลูกไม้สีเงิน" ซึ่งดั้งเดิม ในภาษาจีนเรียกว่าต้น "หยาเจียว"
ซึ่งแปลว่าตีนเป็ดจากลักษณะใบ (นกเป็ดน้ำเป็นสัญลักษณ์ดีหมายถึงความรักของในจีน และในญี่ปุ่น)
ต่อมามีการเรียกชื่อผลของมันว่าลูกไม้สีเงิน หรือ ลูกไม้สีขาว เนื่องจากผลจะมีสีเงิน และ
สีขาวส่วนภาษาญี่ปุ่นจะเรียกว่า อิโจว มีรากจากคำว่าตีนเป็ด หรือ คินนัน ซึ่งมีรากความหมาย
คล้ายกับในภาษาจีนคือลูกไม้สีเงิน สำหรับในภาษาอังกฤษก็นิยมเรียกว่า กิงโกะ หรือ ต้นเมเดนแฮร์
หรือ ต้นขนนิ่ม (maidenhair tree) ซึ่งสันนิฐานว่ามาจากรูปทรงของใบที่เหมือนกันใบของเฟิร์น
ที่มีขนนิ่มชื่อเดียวกัน หรือ เรียกว่า ต้นสี่สิบมงกุฏทอง (หมายถึงว่ามีราคาแพง) ของชาวฝรั่งเศส
ส่วนชื่ออื่น ๆ ที่มีผู้เรียกได้แก่ ต้นไม้แห่งความหวัง แพนด้าแห่งอาณาจักรพืช ต้นไม้อิสรภาพ


(http://s2.uppic.mobi/image-EC9E_4E8C0C0F.jpg)

(http://s2.uppic.mobi/image-81FC_4E8C0F31.jpg)

สารที่สกัดได้จากใบแปะก๊วยมีหลายชนิดที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Free radical) ในบริเวณตา
ป้องกันการ เกิดโรคเบาหวานขึ้นตาได้ เพิ่มการไหลเวียนของโลหิตไปสู่สมอง ปลายมือปลายเท้า
ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง เพราะเมื่อสมองขาดเลือด
ไปหล่อเลี้ยง ย่อมเสื่อมสมรรถภาพและฝ่อไปในที่สุด ส่งผลต่อการทำงานและประสิทธิภาพของสมอง
ทำให้เกิดการหลงลืมในผู้สูงอายุ หรือโรคความจำเสื่อม ที่เรียกว่า อัลไซเมอร์ (Alzheimer disease)

(http://s2.uppic.mobi/image-5457_4E8C1107.jpg)

ในปัจจุบันหลายๆ ประเทศได้ให้การยอมรับถึงสรรพคุณของใบแปะก๊วยในการรักษาโรคสมองเสื่อม
โดยการนำสารสกัดจากใบแปะก๊วยมารวมกับสารอื่น ๆ ช่วยให้การดูดซับที่ผนังลำไส้เล็กดีขึ้น
ทำให้ร่างกายสามารถนำเอาสารสกัดจากใบแปะก๊วยนี้มาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น นอกจากนี้
ยังมีการนำสารสกัดดังกล่าวมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อบำรุงสมอง และช่วยให้เลือด
ไหลเวียนได้ดีขึ้น ใช้รักษาโรคความจำเสื่อมโรคซึมเศร้า อาการหลงๆ ลืมๆ อันเนื่องมาจาก
เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอในผู้ป่วยสูงอายุ ผลแปะก๊วยที่ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารจีน
หลากหลายชนิด มีสรรพคุณช่วยบำรุงสมอง ช่วยให้เลือดลมหมุนเวียนได้สะดวก แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า
แหล่งใหญ่ของสารที่ทำหน้าที่ช่วยเสริมสุขภาพดังกล่าว กลับพบมากในส่วนของใบมากกว่าผลเสียอีก
แปะก๊วย ใบแปะก๊วยยังเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยโตเกียวประเทศญี่ปุ่นเป็นตัวแทนของความคงทน
ไม่เปลี่ยนแปลง เหมือนต้นแปะก๊วยที่คงทนต่อสภาพแวดล้อม คงความเป็นต้นแปะก๊วยมาแต่
ยุคโบราณกาลจนปัจจุบัน และมีความหมายในการปกป้องคุ้มครองภัย จากการที่วัดอันศักด์สิทธิ์
ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวญี่ปุ่น มักจะถูกปกป้องจากอัคคีภัยหรือแผ่นดินไหวโดยต้นแปะก๊วย
ส่วนในจีนแปะก๊วยยังใช้แทนตัวขงจื๊อ ผู้เป็นปราชญ์ใต้ต้นแปะก๊วย


สวนแปะก๊วย

(http://s2.uppic.mobi/image-C567_4E8C13D2.jpg)

(http://s2.uppic.mobi/image-281A_4E8C1654.jpg)

(http://s2.uppic.mobi/image-9679_4E8C1553.jpg)

(http://s2.uppic.mobi/image-B23B_4E8C1553.jpg)

(http://s2.uppic.mobi/image-4297_4E8C1553.jpg)

เครดิต
http://th.wikipedia.org/wiki/
http://poetsohya.blog81.fc2.com/blog-date-20101116.html
http://blog.goo.ne.jp/nabanatei/e/b52b94f64e7a48417317d8396146e01e
http://otonanonurie.seesaa.net/article/18247637.html
http://www.e-expo.net/materials/015639/0049/index.html
http://baike.bbioo.com/wiki/%D2%F8%D0%D3
http://tuiterune-sketch.seesaa.net/article/71517717.html
http://andy-renny.blog.so-net.ne.jp/archive/20071218
http://www.pzslmm.com/
http://happyringo.at.webry.info/200811/article_13.html
http://www.xchort.cn/post/Ginkgo_picture.html
http://www.yinxing9.com/