แนวทางการซ่อมไดชาร์จรถยนต์

เริ่มโดย ยาม, 31 มีนาคม 2017

หัวข้อก่อนหน้า - หัวข้อถัดไป

0 สมาชิก และ 1 ผู้มาเยือน กำลังดูหัวข้อนี้

สวัสดีท่านสมาชิก ไม่ว่าจะเป็นไฟล์หรือข้อมูลในเวป ไม่ควรนำไปขายหรือหาประโยชน์เชิงพานิชนะครับ เวปแบ่งปันแจกจ่ายให้เพื่อศึกษาพัฒนาทักษะอาชีพเท่านั้น เราคิดว่าหลายๆท่านคงได้ประโยชน์จากเว็บนี้ไม่มากก็น้อย การแบ่งปันเป็นจุดประสงค์หลักของเวปนี้ ขอบคุณครับด้วยความเคารพ
แนวทางการซ่อมไดชาร์จรถยนต์

อาการไดชาร์จเสื่อม จะดูเหมือนแบตเตอรรี่หมด บางคนต้องเสียเงินเปลี่ยนแบตเตอรี่ทิ้ง โดยไม่ได้ตรวจสอบไดชาร์จก่อน ก็จะทำให้เสียเงินไปโดยเปล่าประโยชน์ครับ

ใน Youtube ก็มีแนะนำวิธีตรวจสอบอยู่ครับ ขออภัย ผู้มาเยือน คุณไม่สามารถดูลิ้งค์ได้ กรุณา.. สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ

หรือจากกระทู้ต่างๆ ครับ
ขออภัย ผู้มาเยือน คุณไม่สามารถดูลิ้งค์ได้ กรุณา.. สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ

ส่วนใหญ่รถที่ใช้งานมานานประมาณ 150,000-200,000 กิโล แปรงถ่านของไดชาร์จจะใกล้หมดแล้ว และความสกปรกของผงถ่านจะไปเกาะตามหน้าสัมผัส จึงทำให้กระแสไหลผ่านไม่สะดวก ทำให้แรงดันที่ไปชาร์จไม่พอ หรือบางครั้งก็มีกรณี Over charge ได้ครับ คือ volt สูงถึง 16-17 โวลต์ ทำให้น้ำกรดเดือด และถ้าสังเกตุเห็นน้ำกรดรั่วไหลบริเวณฝาปิดน้ำกรดโดยที่ปิดฝาแบตเตอรรี่ดีแล้ว แสดงว่าท่านกำลังเจอปัญหา Overcharge ให้รีบตรวจสอบไดชาร์จ ก่อนที่แบตเตอรรี่ หรืออุปกรณ์ที่ทน Volt สูงๆไม่ได้จะเสีย

กรณีการซ่อมนี้จะเป็นแค่ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงถ่านเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่ การที่ไดชาร์จอ่อน เกิดจากแปรงถ่านเหลือน้อยครับ

ขั้นแรก เมื่อตรวจสอบแล้วแน่ใจว่าเป็นปัญหาที่ไดชาร์จอ่อน ให้ถอดไดชาร์จออกมาจากรถยนต์เลยครับ

ขออภัย ผู้มาเยือน คุณไม่สามารถดูลิ้งค์ได้ กรุณา.. สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ

2. ถอดน็อตที่ยึดไดชาร์จ แล้วค่อยๆใช้ข้อนหรือเหล็กงัดให้ไดชาร์จแยกออกจากกันดังรูป


ขออภัย ผู้มาเยือน คุณไม่สามารถดูลิ้งค์ได้ กรุณา.. สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ

3. ถอดน็อตยึดชุดแปรงถ่านและใช้หัวแร้งและที่ดูดตะกั่ว ดูดเอาตะกั่วที่ยึดชุดแปรงถ่านออก

ขออภัย ผู้มาเยือน คุณไม่สามารถดูลิ้งค์ได้ กรุณา.. สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ

4. ดูดตะกั่วที่ยึดแปรงถ่านออก จะสามารถงัดดึงแปรงถ่านพร้อมสปริงออกมาได้


ขออภัย ผู้มาเยือน คุณไม่สามารถดูลิ้งค์ได้ กรุณา.. สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ

ถอดแปรงถ่านออกมา จะเห็นว่าเหลือระยะอยู่ไม่มาก

ขออภัย ผู้มาเยือน คุณไม่สามารถดูลิ้งค์ได้ กรุณา.. สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ

5. จากนั้นก็เอาแปรงถ่านเก่า ไปหาซื้อที่ร้านอะไหล่ได้เลย ราคาอยู่ที่ชุดละ 80 บาท รวมสปริงแล้ว จากรูปเอาแปรงถ่านใหม่ใส่เข้าไปแทนแล้ว เหลือระยะยาวกว่าของเดิมมาก


ขออภัย ผู้มาเยือน คุณไม่สามารถดูลิ้งค์ได้ กรุณา.. สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ


6. ล้างทำความสะอาดไดชาร์จด้วยน้ำมันก๊าดหรือน้ำมันเบนซิน

ขออภัย ผู้มาเยือน คุณไม่สามารถดูลิ้งค์ได้ กรุณา.. สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ


7. ทำความสะอาดหน้าสัมผัสทองแดงด้วยกระดาษทรายเบอร์ละเอียด ซัก 800 - 1000

ขออภัย ผู้มาเยือน คุณไม่สามารถดูลิ้งค์ได้ กรุณา.. สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ


8. ประกอบชุดแปรงถ่านกลับคืน พร้อมบัดกรีให้เรียบร้อย


ขออภัย ผู้มาเยือน คุณไม่สามารถดูลิ้งค์ได้ กรุณา.. สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ


9. ก่อนที่จะประกอบไดชาร์จเข้าด้วยกัน ให้นำลวดมาแหย่รูด้านหลังไดชาร์จ และกดแปรงถ่านลง จะทำให้แปลงถ่านไม่โผล่ออกมาตอนประกอบ ถ้าไม่ใช้ลวดแหย่ล็อคแปรงถ่านไว้ จะทำไห้ประกอบไม่ได้

ขออภัย ผู้มาเยือน คุณไม่สามารถดูลิ้งค์ได้ กรุณา.. สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ
ขออภัย ผู้มาเยือน คุณไม่สามารถดูลิ้งค์ได้ กรุณา.. สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ


10. ประกอบเรียบร้อยแล้วครับ เอาไปทดสอบได้เลย แรงดันชาร์จจะกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม ใช้ไปด้อีกไม่ต่ำกว่าแสนโล

ขออภัย ผู้มาเยือน คุณไม่สามารถดูลิ้งค์ได้ กรุณา.. สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ

ปล. ขั้นตอนอาจไม่ละเอียดมาก เพราะผมทำตอนกลางคืนคนเดียว มือดำ ดึกแล้วด้วยครับ ผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยครับ หวังว่าคงเป็นประโยชน์แก่สมาชิกครับ


   
 

ขออภัย ผู้มาเยือน คุณไม่สามารถดูลิ้งค์ได้ กรุณา.. สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ

 





ลิ้งค์หัวข้อ: ขออภัย ผู้มาเยือน คุณไม่สามารถดูลิ้งค์ได้ กรุณา.. สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ

 4 สมาชิก :
คนรักรถuser7.gif   kveerauser1.gif   toon toonuser1.gif   ananchaiuser1.gif
  • การดู 6,987 
  • ประสบการณ์งานซ่อม
  • 2 ตอบกลับ

 :M;;




ลิ้งค์หัวข้อ: ขออภัย ผู้มาเยือน คุณไม่สามารถดูลิ้งค์ได้ กรุณา.. สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ

 0 สมาชิก :


 ขอบคุณมากครับที่นำความรู้มาแชร์มีประโยชน์มากครับรถผมกำลังเจอปัญหานี้:สวดยอด: :สวดยอด: :สวดยอด:




ลิ้งค์หัวข้อ: ขออภัย ผู้มาเยือน คุณไม่สามารถดูลิ้งค์ได้ กรุณา.. สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ

 0 สมาชิก :