านไฟฟ้ารถยนต์ ระบบจุดระเบิด (Ignition System)
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
W3Schools.com
คลังความรู้-คู่มือซ่อมรถยนต์ฟรี

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ผู้เขียน : ยาม
งานไฟฟ้ารถยนต์ ระบบจุดระเบิด (Ignition System)


ขอบคุณที่มา.... :thank_:
   
 

ขออภัย! คุณไม่สามารถเห็นลิ้งค์ที่โพสต์นี้ได้ กรุณาสมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ

 



หน้าที่ระบบจุดระเบิด


ระบบจุดระเบิด ทำหน้าที่ จ่ายกระแสไฟแรงเคลื่อนสูงไปยังหัวเทียน เพื่อจุดส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศ ภายในกระบอกสูบตามจังหวะการจุดระเบิดที่เหมาะสมของเครื่องยนต์ให้เกิดการลุกไหม้ รูปที่ 1 : แสดงวงจรระบบจุดระเบิดแบบธรรมดา หลักการทำงาน เมื่อเปิดสวิตช์กุญแจตำแหน่ง ON กระแสไฟจะไหลจากแบตเตอรี่ 12 โวลต์ จะไหลผ่านเข้าไปยังขั้ว B (AM) ของสวิตช์กุญแจเมื่อสตาร์ตเครื่องยนต์ ขั้ว B และ ST2 จะต่อกันกระแสไฟจะไหลจากขั้ว ST2 มาเข้าขั้วบวกของคอยล์จุดระเบิด ผ่านที่ขดลวดปฐมภูมิ ผ่านหน้าทองขาว ลงกราวด์ ครบวงจร จะเกิดเส้นแรงสนามแม่เหล็กที่แกนเหล็กอ่อน เมื่อลูกเบี้ยวหมุนไปเตะให้หน้าทองขาวแยกจากกันไฟแรงต่ำจะถูกตัดวงจรสนามแม่เหล็ก ที่แกนเหล็กอ่อนเกิดการยุบตัว เหนี่ยวนำทำให้เกิดไฟแรงเคลื่อนสูงที่ขดลวดทุติยภูมิไหลไปที่จานจ่าย หัวโรเตอร์ ผ่านหัวโรเตอร์ซึ่งหมุนไปยังสายหัวเทียน กระโดดข้ามเขี้ยวหัวเทียน จุดระเบิดไอดีในห้องเผาไหม้ในจังหวะอัดสุดเป็นผลทำให้เครื่องยนต์สามารถติดได้เมื่อเครื่องยนต์สตาร์ตติดแล้วสวิตช์กุญแจจะกลับมาอยู่ในตำแหน่ง ON หรือ IG ไฟแรงเคลื่อนต่ำจะไหลจากขั้ว IG ผ่านความต้านทานก่อนจึงจะเข้าขั้วบวกของคอยล์จุดระเบิด ทำให้ไฟเข้าคอยล์จุดระเบิดน้อยลงเป็นผลทำให้คอยล์ไม่ร้อน ซึ่งเป็นการยืดอายุการทำงานของคอยล์จุดระเบิด


ระบบสตาร์ต



หลักการทำงานของระบบสตาร์ต 1. สวิตช์กุญแจอยู่ในตำแหน่ง START เมื่อบิดสวิตช์กุญแจไปตำแหน่งสตาร์ต กระแสไฟจากแบตเตอรี่จะไหลผ่านขั้ว 50 (ขั้ว ST) ไปขดลวดยึดและขดลวดดึงของสวิตช์แม่เหล็ก กระแสไฟจากขดลวดดึงจะไหลต่อไปยังขดลวดสนามแม่เหล็ก โดยผ่านทางขั้ว C ลงกราวด์ที่แปรงถ่าน ขณะเดียวกันกระแสไฟฟ้าไหลเข้าขดลวดยึดลงกราวด์ที่ตัวเสื้อของชุดสวิตช์แม่เหล็ก ทำให้ขดลวดทั้ง 2 ชุด เกิดอำนาจแม่เหล็ก ขดลวดดึงจะดึงพลันเยอร์ให้เคลื่อนตัวก้ามปูจะถูกดึงตามไปด้วยก้ามปูจะเลื่อนเฟืองขับเข้าขบกับล้อช่วงแรง เนื่องจากมีกระแส เล็กน้อยไหลเข้าขดลวดสนามแม่เหล็กและอาร์เมเจอร์ ทำให้ทุ่นอาร์เมเจอร์หมุนไปอย่างช้าๆ เป็นการช่วยให้เฟืองเลื่อนเข้าขบกับล้อช่วยแรงได้สะดวก



แสดงสวิตช์กุญแจอยู่ในตำแหน่ง START

 

2. เฟืองขับเข้าขบกับล้อช่วยแรง เมื่อเฟืองขับเข้าขบกับล้อช่วยแรง สะพานไฟที่อยู่กับแกนพลันเยอร์ จะทำหน้าที่ต่อระหว่างขั้ว 30 (B) กับขั้ว C กระแสไฟส่วนใหญ่จากแบตเตอรี่ จะไหลผ่านสะพานไฟไปที่มอเตอร์สตาร์ตโดยตรงทำให้มอเตอร์สตาร์ตหมุนด้วยแรงบิดที่สูงขึ้น ขณะเดียวกันกระแสไฟที่ขดลวดดึงจะหยุดไปแต่พลันเยอร์ยังไม่เลื่อนกลับเนื่องจากที่ขดลวดยึดยังเกิดสนามแม่เหล็กยึดพลันเยอร์ให้อยู่กับที่



ระบบประจุไฟ (Charging System)




คุณอยู่ที่: หน้าแรก Ignition

L2thaiplus.com

งานไฟฟ้ารถยนต์

ระบบจุดระเบิด (Ignition System)

หน้าที่ระบบจุดระเบิด

ระบบจุดระเบิด ทำหน้าที่ จ่ายกระแสไฟแรงเคลื่อนสูงไปยังหัวเทียน เพื่อจุดส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงกับอากาศ ภายในกระบอกสูบตามจังหวะการจุดระเบิดที่เหมาะสมของเครื่องยนต์ให้เกิดการลุกไหม้ รูปที่ 1 : แสดงวงจรระบบจุดระเบิดแบบธรรมดา หลักการทำงาน เมื่อเปิดสวิตช์กุญแจตำแหน่ง ON กระแสไฟจะไหลจากแบตเตอรี่ 12 โวลต์ จะไหลผ่านเข้าไปยังขั้ว B (AM) ของสวิตช์กุญแจเมื่อสตาร์ตเครื่องยนต์ ขั้ว B และ ST2 จะต่อกันกระแสไฟจะไหลจากขั้ว ST2 มาเข้าขั้วบวกของคอยล์จุดระเบิด ผ่านที่ขดลวดปฐมภูมิ ผ่านหน้าทองขาว ลงกราวด์ ครบวงจร จะเกิดเส้นแรงสนามแม่เหล็กที่แกนเหล็กอ่อน เมื่อลูกเบี้ยวหมุนไปเตะให้หน้าทองขาวแยกจากกันไฟแรงต่ำจะถูกตัดวงจรสนามแม่เหล็ก ที่แกนเหล็กอ่อนเกิดการยุบตัว เหนี่ยวนำทำให้เกิดไฟแรงเคลื่อนสูงที่ขดลวดทุติยภูมิไหลไปที่จานจ่าย หัวโรเตอร์ ผ่านหัวโรเตอร์ซึ่งหมุนไปยังสายหัวเทียน กระโดดข้ามเขี้ยวหัวเทียน จุดระเบิดไอดีในห้องเผาไหม้ในจังหวะอัดสุดเป็นผลทำให้เครื่องยนต์สามารถติดได้เมื่อเครื่องยนต์สตาร์ตติดแล้วสวิตช์กุญแจจะกลับมาอยู่ในตำแหน่ง ON หรือ IG ไฟแรงเคลื่อนต่ำจะไหลจากขั้ว IG ผ่านความต้านทานก่อนจึงจะเข้าขั้วบวกของคอยล์จุดระเบิด ทำให้ไฟเข้าคอยล์จุดระเบิดน้อยลงเป็นผลทำให้คอยล์ไม่ร้อน ซึ่งเป็นการยืดอายุการทำงานของคอยล์จุดระเบิด

 

ระบบสตาร์ต

หลักการทำงานของระบบสตาร์ต 1. สวิตช์กุญแจอยู่ในตำแหน่ง START เมื่อบิดสวิตช์กุญแจไปตำแหน่งสตาร์ต กระแสไฟจากแบตเตอรี่จะไหลผ่านขั้ว 50 (ขั้ว ST) ไปขดลวดยึดและขดลวดดึงของสวิตช์แม่เหล็ก กระแสไฟจากขดลวดดึงจะไหลต่อไปยังขดลวดสนามแม่เหล็ก โดยผ่านทางขั้ว C ลงกราวด์ที่แปรงถ่าน ขณะเดียวกันกระแสไฟฟ้าไหลเข้าขดลวดยึดลงกราวด์ที่ตัวเสื้อของชุดสวิตช์แม่เหล็ก ทำให้ขดลวดทั้ง 2 ชุด เกิดอำนาจแม่เหล็ก ขดลวดดึงจะดึงพลันเยอร์ให้เคลื่อนตัวก้ามปูจะถูกดึงตามไปด้วยก้ามปูจะเลื่อนเฟืองขับเข้าขบกับล้อช่วงแรง เนื่องจากมีกระแส เล็กน้อยไหลเข้าขดลวดสนามแม่เหล็กและอาร์เมเจอร์ ทำให้ทุ่นอาร์เมเจอร์หมุนไปอย่างช้าๆ เป็นการช่วยให้เฟืองเลื่อนเข้าขบกับล้อช่วยแรงได้สะดวก

 

แสดงสวิตช์กุญแจอยู่ในตำแหน่ง START

 

2. เฟืองขับเข้าขบกับล้อช่วยแรง เมื่อเฟืองขับเข้าขบกับล้อช่วยแรง สะพานไฟที่อยู่กับแกนพลันเยอร์ จะทำหน้าที่ต่อระหว่างขั้ว 30 (B) กับขั้ว C กระแสไฟส่วนใหญ่จากแบตเตอรี่ จะไหลผ่านสะพานไฟไปที่มอเตอร์สตาร์ตโดยตรงทำให้มอเตอร์สตาร์ตหมุนด้วยแรงบิดที่สูงขึ้น ขณะเดียวกันกระแสไฟที่ขดลวดดึงจะหยุดไปแต่พลันเยอร์ยังไม่เลื่อนกลับเนื่องจากที่ขดลวดยึดยังเกิดสนามแม่เหล็กยึดพลันเยอร์ให้อยู่กับที่

3. สวิตช์กุญแจอยู่ในตำแหน่ง ON เมื่อเครื่องยนต์ติดแล้วสวิตช์กุญแจจะกลับคืนตำแหน่ง ON ซึ่งเป็นการตัดกระแสไฟที่ไหลไปขั้ว 50 (ST) แต่อย่างไรก็ตามสะพานไฟยังต่ออยู่ระหว่างขั้ว 30 (B) กับขั้ว C จะมีกระแสไฟจากแบตเตอรี่ผ่านสะพานไปยังขดลวดดึงและขดลวดยึด แต่กระแสไฟไหลเข้าขดลวดทั้งสองสวนทางกันทำให้อำนาจแม่เหล็กเกิดการหักล้างกัน เมื่ออำนาจแม่เหล็กหมดไปสปริงจะดันพลันเยอร์ให้เคลื่อนที่กลับทำให้สะพานไฟแยกออกจากขั้ว 30 (B) และขั้ว C ซึ่งกระแสไฟจากแบตเตอรี่ที่ไหลเข้าไปในมอเตอร์ก็จะถูกตัด ขณะเดียวกันเฟืองขับก็จะเลื่อนออกจากล้อช่วยแรงเป็นการสิ้นสุดการทำงานของมอเตอร์สตาร์ต

 

ระบบประจุไฟ (Charging System)

ระบบประจุไฟ ระบบประจุไฟ หรือระบบไฟชาร์จ ทำหน้าที่ ดังนี้ 1 ชาร์จหรือประจุไฟเข้าแบตเตอรี่ 2 ควบคุมปริมาณไฟฟ้าที่ประจุเข้าแบตเตอรี่ 3 สร้างสัญญาณเตือนการชาร์จหรือการประจุไฟ

 

หลักการทำงานของระบบประจุไฟ

1. เมื่อเปิดสวิตช์ไปที่ตำแหน่ง “ON” เมื่อเปิดสวิตช์จุดระเบิดกระแสไฟจากแบตเตอรี่จะไหลเข้าขั้ว IG ของเร็กกูเลเตอร์ผ่านหน้าทองขาว P1 ออกขั้ว F เข้าขั้ว F ของอัลเทอร์เนเตอร์ผ่านขดลวดโรเตอร์ลงกราวด์ครบวงจรทำให้ขดลวดโรเตอร์เกิดสนามแม่เหล็ก จากสวิตช์อีกทางหนึ่งกระแสไฟฟ้าจะไหลไปยังหลอดไฟเตือนไฟชาร์จ ผ่านหน้าทองขาว P2 ลงกราวด์ ทำให้หลอดไฟเตือนติด

2. เมื่อเครื่องยนต์ทำงานความเร็วรอบต่ำ เมื่ออัลเทอร์เนเตอร์เริ่มหมุน จะเกิดกระแสไฟออกที่ขั้ว B ไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าและเข้าชาร์จแบตเตอรี่ ขณะเดียวกันกระแสไฟจะออกที่ขั้ว N ด้วย ซึ่งแรงดันไฟฟ้าเป็นครึ่งหนึ่งของขั้ว B ไปยังขดลวดรีเลย์ไฟเตือน C2 ลงกราวด์ ทำให้มีอำนาจแม่เหล็กดูดหน้าทองขาว P2 ลงมาต่อหน้าทองขาว d แรงดันไฟฟ้าที่ขั้ว L และ B เท่ากันหลอดไฟเตือนจึงดับ

3. เมื่อความเร็วรอบของเครื่องยนต์เพิ่มขึ้น เมื่อความเร็วรอบของเครื่องยนต์เพิ่มขึ้น แรงดันไฟฟ้าที่ขั้ว B และในขดลวดโวลต์เตจเร็กกูเลเตอร์ (C1) สูงขึ้นทำให้ขดลวดโวลต์เตจเร็กกูเลเตอร์ มีอำนาจแม่เหล็กเพียงพอดูดหน้าทองขาว P1 ลงมา แต่ยังไม่ต่อกับหน้าทองขาว b กระแสไฟที่จะไหลเข้าขดลวดโรเตอร์ จึงต้องผ่านความต้านทานเป็นการลดกระแสไฟเพื่อควบคุมแรงดันให้อยู่ในค่าที่กำหนดคือประมาณ13.8 – 14.8 โวลต์

4. เมื่อเครื่องยนต์หมุนด้วยความเร็วรอบสูง เมื่อเครื่องยนต์หมุนด้วยความเร็วรอบสูง และกระแสไฟที่ออกจากอัลเตอร์เนเตอร์ยังไม่ลดลงแม้ว่าหน้าทองขาว P1 จะจากออกจาก a กระแสไฟที่ออกจากขั้วB ยังสูงขั้นเรื่อยๆ หากแรงดันไฟฟ้าสูงเกินกำหนด คือ ประมาณ 14.8 โวลต์ อำนาจแม่เหล็กที่ C1 จะสูงขึ้นดูดหน้าทองขาว P1 ลงมาต่อกับ b ทำให้กระแสไฟเข้าโรเตอร์ถูกตัดกระแสไฟที่ออกจากขั้ว B ก็จะลดลงและควบคุมไม่ให้แรงดันสูงเกินกำหนด

 

ปฏิกิริยาเคมีในแบตเตอรี่

1 เมื่อประจุไฟเต็ม สภาพของแผ่นธาตุบวกจะเป็นตะกั่วเปอร์ออกไซด์ (PbO2) น้ำยาอิเล็กโตรไลท์ (2H2SO4) และแผ่นธาตุลบเป็นตะกั่วบริสุทธิ์ (Pb) ขณะนี้ความถ่วงจำเพาะของน้ำยาจะอยู่ระหว่าง 1.260 – 1.280 และขณะที่แบตเตอรี่มีประจุไฟเต็มพร้อมจ่ายกระแสไฟจะเกิดปฏิกิริยาเคมี คือ PbO2 + 2H2 SO4 + Pb



2 เมื่อมีการจ่ายไฟ อิเล็กตรอนจากขั้วลบ จะวิ่งเข้าไปยังขั้วบวก ทำให้ SO4 พยายามแยกตัวออกจาก H เพื่อรวมตัวกับ Pb และ H จะดึง O2 เพื่อจะเปลี่ยนสภาพเป็น HO2 ดังนั้น เมื่อเกิดปฏิกิริยาไปเรื่อย ๆ จะทำให้ความถ่วงจำเพาะของน้ำยาลดลงเรื่อยๆ ถ้าเหลือประมาณ 1.140 หรือต่ำกว่านี้ ก็จะไม่มีการจ่ายไฟอีกต่อไป หรือเรียกว่าหมดไฟ แผ่นธาตุบวกและแผ่นธาตุลบ จะมีสภาพเป็นตะกั่วซัลเฟต (PbSO4) และปฏิกิริยาเคมีจะเปลี่ยนแปลง คือ PbO2 + 2H2SO4 + Pb เป็น PbSO4 + 2H2O + PbSO4



3 เมื่อประจุไฟ ขณะประจุไฟจะทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างแผ่นธาตุบวกและแผ่นธาตุลบ เกิดการคืนตัว ทำให้แผ่นธาตุบวกมีสภาพเป็นตะกั่วเปอร์ออกไซด์ (PbO2) แผ่นธาตุลบเป็นตะกั่วบริสุทธิ์ (Pb) ตามเดิม โดยการทำให้อิเล็กตรอนเคลื่อนที่จากขั้วบวกไปยังขั้วลบ ซัลเฟต (SO4) จะถูกดึงตัวมารวมกับไฮโดรเจน (H) เป็นกรดกำมะถันเจือจางตามเดิม (2H2SO4) ปฏิกิริยาทางเคมีจะเปลี่ยนแปลง คือPbSO4 + 2H2O + Pb SO4 เป็น PbO2 + 2H2SO4 + Pb



5 อัตราการจ่ายไฟหรือความจุของแบตเตอรี่ (Battery Ratings or Capacity) อัตราการจ่ายไฟของแบตเตอรี่ คือ จำนวนปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่แบตเตอรี่สามารถจ่ายไฟออกไปได้ในระยะเวลาที่กำหนดไว้แน่นอน โดยจะบอกอัตราการจ่ายกระแสไฟของแบตเตอรี่ต่อชั่วโมง หรือ แอมแปร์ – ชั่วโมง (Ah) เช่น 40 Ah 70 Ah 100 Ah โดยจะเทียบกับ 20 ชั่วโมง เช่น แบตเตอรี่มีความจุ 100 Ah 12 V. จะมีความสามารถจ่ายกระแสไฟได้สูงสุด 5 แอมแปร์ คือ คงที่เป็นเวลา 20 ชั่วโมง แรงเคลื่อนไฟฟ้าจะลดลงไม่ตำกว่า 10.5 โวลต์ สำหรับแบตเตอรี่ 12 โวลต์ หรือ แบตเตอรี่มีความจุ 70 Ah จะมีความสามารถจ่ายกระแสไฟได้เต็มที่ 3.5 แอมแปร์ จะต้องใช้เวลาจ่ายกระแสไฟเป็นเวลา 20 ชั่วโมง คือ

 




ลิ้งค์หัวข้อ: บ้านหรรษา ดอทคอม/topic/9121

LikePost โดย 0 สมาชิก :


 

ร่วมสนับสนุนเว็บ บ้านหรรษา ดอทคอม ด้วยการสมัครสมาชิก VIP. เพียง 500฿ ต่อปี